ลดขีดความสามารถไทย3ขั้น ปัญหาลงทุนรัฐ-ขาดดุลงบสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (ทีเอ็มเอ) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก สถาบันการจัดการนานาชาติ ไอเอ็มดี จากสวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 61ซึ่งทำการสำรวจและจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทั้งหมด 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยพบว่าไทย ที่มีอันดับลดลงจากปีก่อนที่ 27 เป็นที่ 30 ขณะที่ชาติอื่นในอาเซียน สิงคโปร์อยู่คงที่ที่อันดับ 3 มาเลเซียอันดับดีขึ้นจาก 24 เป็นที่ 22 อินโดนีเซียลดจากที่ 42 เป็น 43 และฟิลิปปินส์ลดจากที่ 41 เป็น 50
ทั้งนี้เมื่อลงรายละเอียดพบว่า การจัดอันดับทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานปรับตัวดีขึ้น ด้านสภาวะเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาคธุรกิจคงเดิม ส่วนด้านประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับลดลง
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ทีเอ็มเอ กล่าวว่า แม้การจัดอันดับในปีนี้ไทยจะลดลง แต่การวางรากฐานเศรษฐกิจในระยะยาว และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอันดับดีขึ้น ขณะที่การลงทุนโดยรัฐในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ส่งผลลบต่ออันดับบางด้านในระยะสั้น แต่เชื่อว่าจะมีผลบวกต่อเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ทั้งนี้ประเด็นที่รัฐบาลยังคงต้องให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาทางด้านสังคม การศึกษา และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ
ด้านนางปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ในปีนี้ผลการจัดอันดับภาพรวมลดลง แต่ในองค์ประกอบนั้นมีดีขึ้น 1 ด้าน และรักษาอันดับไว้ได้ 2 ด้านคือด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพภาคเอกชน ขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ ซึ่งลดลงจาก 22 ในปีที่แล้วเป็น 24 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการใช้จ่ายขาดดุลเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ถือเป็นเรื่องดีที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เฝ้าติดตามการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง รวมทั้งกำกับดูแลให้การใช้งบประมาณภาครัฐให้เกิดประโยชน์ และคุ้มค่าภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง สำหรับการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับภาคธุรกิจ ก็ส่งผลให้อันดับด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ขึ้นถึง 2 อันดับ และรัฐบาลมีแนวทางพัฒนาต่อ เช่น การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์และดิจิตอล ในการให้บริการให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาปัจจัยที่เป็นพื้นฐานเชิงโครงสร้างในทุกด้าน
นายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ภาพรวมของความสามารถในการแข่งขันของประเทศยังดีอยู่ โดยเฉพาะเศรษฐกิจโดยรวมได้ 10 ถือว่าดีเด่น ขณะที่ด้านโครงสร้างพื้นฐานดีขึ้น 1 อันดับมาอยู่ที่ 48 ด้านประสิทธิภาพเอกชนคงเดิมที่ 25 แต่ส่วนที่ลดลงมาจากประสิทธิภาพของภาครัฐ เนื่องจากที่ผ่านมารัฐมีตัวเลขขาดดุลงบประมาณอยู่ แต่เมื่อเข้าไปดูรายละเอียดแล้วไม่น่าห่วงเพราะเป็นการขาดดุลทางการคลังเพื่อใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานซึ่งช่วยพัฒนาศักยภาพประเทศได้ระยะยาว.
Gap Year หมายถึง การเว้นช่วงเวลาระหว่างการเรียนต่อมหาวิทยาลัยกับมัธยมปลายโดยให้ไปเที่ยวหาประสบการณ์ ค้นหาตนเองตลอดจนเรียนรู้ชีวิตก่อนที่จะเริ่มเรียนในระดับอุดมศึกษา โดยปกติเป็นเวลาหนึ่งปี “gap year” กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มีปรัชญาในการสร้างคนที่มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี เพื่อป้อนเข้าสู่โลกการทำงานอย่างแท้จริง ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเจ้าของกิจการต่างต้องการทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย โดยการที่ มทร.พระนคร มีเครือข่ายและนักศึกษาอยู่ทั่วประเทศนั้น จะช่วยให้การพัฒนาและสร้างกำลังคน (Workforce) ในอุตสาหกรรมดิจิทัล ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างครบวงจร รวมทั้งอำนวยความสะดวกและสร้างแรงจูงใจในการรวมตัวของผู้ประกอบการในการติดต่อค้าขายระหว่างกันด้วย
EEC เป็นโครงการเรือธงแห่งยุคที่จะพาประเทศไทยเดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็ง ซึ่งหากต้องการพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืนจะต้องเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างการมีส่วนร่วม
19 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้กำหนดและติดตามประเมินผลการจัดสวัสดิการภาครัฐ และการนำระบบบริหารการจัดการข้อมูลแบบชี้เป้า (TPMAP) ระหว่างกระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ รวม 11 หน่วยงาน เพื่อยกระดับการให้บริการสวัสดิการภาครัฐให้เข้าสู่ยุค 4.0 ด้วยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้บริหารจัดการฐานข้อมูลสวัสดิการภาครัฐอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริงได้ถูกตัว