จากการรายงานผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศปี 2016 โดยสถาบัน IMD World Competitiveness Yearbook นั้น ในภาพรวม ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ประเทศไทยได้อันดับที่ 49 จาก 61 ซึ่งลดลงมา 3 อันดับจากปีที่ผ่านมา โดยภายใต้ปัจจัยนี้ มีปัจจัยรอง 2 ปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้นคือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (Technological Infrastructure) ที่ขึ้นมา 2 อันดับ และสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (Health and Environment) ที่ขึ้นมา 2 อันดับจาก 54 เป็น 52 นอกเหนือจาก 2 ปัจจัยนี้แล้ว สาธารณูปโภคพื้นฐาน (Basic Infrastructure) และการศึกษา (Education) มีอันดับที่ตกลงมาทั้งคู่ โดยสาธารณูปโภคพื้นฐานตกลงมา 5 อันดับจากอันดับที่ 30 มาอันดับที่ 35 และการศึกษาตกลงมา 4 อันดับจากอันดับที่ 48 มาอันดับที่ 52 ในปัจจุบัน สำหรับด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 47 นั้นเป็นอันดับที่คงที่
1. สภาวะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)
นอกเหนือจากนี้ หากพิจารณาเชิงลึกเฉพาะด้านคมนาคมและการขนส่งแล้ว ซึ่งดูจากตัวชี้วัด 8 ตัวได้แก่
1. สภาวะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)
จะเห็นว่ามีอันดับตัวชี้วัดดีขึ้น 2 ตัวชี้วัด ลดลง 3 ตัวชี้วัด และคงที่อีก 3 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่มีอันดับที่ดีขึ้นมากที่สุดคือ ถนน (Roads) โดยมีอันดับที่ดีขึ้น 21 อันดับจากอันดับที่ 47 ในปี 2558 เป็นอันดับที่ 26 ในปีปัจจุบัน เนื่องจากในปีที่ผ่านมาทางสำนักนโยบายขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการปรับปรุงข้อมูลความยาวของถนนต่อตารางกิโลเมตรของประเทศให้เป็นปัจจุบันและครบถ้วนมากขึ้น จากเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลมาเกือบ 10 ปี ในขณะที่ตัวชี้วัดที่มีอันดับที่ต่ำลงมากที่สุด 2 ตัวชี้วัดได้แก่ การคมนาคมทางน้ำ (Water transportation) ที่ตกลงมา 6 อันดับเป็นอันดับที่ 47 และการซ่อมบำรุงและการพัฒนา (Maintenance and development) ที่ตกลงมา 5 อันดับจากอันดับที่ 38 เป็น 43
1. สภาวะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)
หากพิจารณาเปรียบเทียบด้านคมนาคมและการขนส่งของประเทศไทยกับประเทศอื่นในอาเซียนแล้ว มี 2 ตัวชี้วัดได้แก่ด้านถนนและรางรถไฟ ที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 2 จาก 5 ประเทศ โดยเป็นรองประเทศสิงคโปร์ โดยตัวชี้วัดอีก 6 ตัวชี้วัดนั้น ประเทศไทยได้อันดับที่ 3 เป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย สำหรับการเปรียบเทียบตัวชี้วัดของปัจจัยรองด้านสาธารณูปโภค
1. สภาวะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
การระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม สูงถึงเกือบ 91 ล้านคน ในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก สถานการณ์การระบาดครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามอันใหญ่หลวงของมนุษยชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก และยังคงมีผลสืบเนื่องต่อมาในปี 2564 จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกัน ในแง่ของความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีนักธุรกิจใจบุญมากมายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ย้อนไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อาทิ จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ นักธุรกิจชาวอเมริกันเจ้าของกิจการน้ำมันผู้ร่ำรวย และ เฮนรี ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ มาจนถึงผู้นำธุรกิจในยุคปัจจุบันอย่างบิลและเมลินดา เกตส์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสำหรับช่วยเหลือคนในประเทศกำลังพัฒนา และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีระดับโลก ราชานักลงทุนและเจ้าของบริษัท Berkshire Hathaway
กล่าวได้ว่าสุขภาพนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบร่างสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การดูแลสุขภาพได้รับการพัฒนาผ่านการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการปรับโครงสร้างบริการด้านสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค แม้ว่าแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อการมีสุขภาพที่ยั่งยืนจะเพิ่มขึ้น แต่เราสามารถคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจสุขภาพระดับโลกที่แข็งแกร่งสิบปีนับจากนี้ได้ โดยเป้าหมายการเป็นเศรษฐกิจด้านสุขภาพระดับโลกในปี พ.ศ. 2569 ไม่เพียงเป็นการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพสำหรับคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่ในระบบเศรษฐกิจนี้ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมจะถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของสุขภาพ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาสุขภาพสำหรับคนจำนวนมากเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ยังถือเป็นการลงทุนอีกด้วย