วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559 ระหว่างเวลา 13.30 – 16.00 น.
ณ ห้องปทุมมา โรงแรม สยามเคมพินสกี กรุงเทพฯ
สืบเนื่องจากการประชุมเชิงปฎิบัติการ “MICE Driven Economic Transformation” ภายใต้โครงการ Thailand Competitiveness Enhancement Program ในวันที่ 22 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทยเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปต่อยอดในเชิงนโยบายได้นั้น เพื่อให้ประเด็นการพัฒนาดังกล่าวมีการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม TMA จึงได้จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการต่อเนื่องในหัวข้อ “MICE-Driven Economic Transformation” ในวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2559 ขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับข้อเสนอแนะและกลไกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสามารถยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวมได้
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์
ด้านสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจ
• ควรปรับปรุงกฎระเบียบรวมถึงกำหนดสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจ เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์ ดังนี้
o การให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจทางภาษี สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประชุมที่ตรงกับยุทธศาสตร์ของชาติ
o การส่งเสริมงบประมาณสนับสนุนให้กับหน่วยงานที่มีศักยภาพ สามารถสร้างความเจริญเติบโตและพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมไมซ์ให้ดียิ่งขึ้นได้
o การให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจทางภาษีสนับสนุนผู้จัดงานที่มีศักยภาพในการจัดงานในระดับสากล ซึ่งจะเป็นทางเลือกเพิ่มเติม นอกเหนือจากการที่หน่วยงานของภาครัฐดำเนินการจัดงานเอง
o การเพิ่มสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจให้กับการท่องเที่ยวผ่านอุตสาหกรรมไมซ์เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยี
o การสนับสนุนด้านภาษีศุลกากรเพื่อดึงดูดการลงทุนและให้นักธุรกิจสนใจเดินทางเข้ามาประเทศไทย
o การอนุญาตให้บริษัทผู้จัดงานในระดับโลกเข้ามาเปิดบริษัทในประเทศไทยได้
• สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) ต้องศึกษาเจาะลึกสิทธิประโยชน์ของอุตสาหกรรมไมซช์ในทุกด้าน ทั้งด้านการจัดประชุม (Meeting) ด้านการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive) ด้านการประชุมนานาชาติ (Conference) และด้านการจัดนิทรรศการ (Exhibition) เพื่อนำมาวางแผนกลยุทธ์ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมไหมซ์ในอนาคตต่อไป
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร
• ควรพัฒนาจุดแข็งด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการคมนาขนส่ง เพื่อให้เกิดเมืองไมซ์กระจายตัวไปในหลากหลายพื้นที่
• ควรพัฒนาบุคลากรไทยด้านภาษา โดยเฉพาะอังกฤษให้กลายเป็นภาษาที่สอง เพื่อดึงดูดให้ผู้จัดงานต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น
• ควรพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ โดยมุ่งเน้นด้านการศึกษาเป็นหลัก โดยเฉพาะการจัดทำโปรแกรมหลักสูตรภาษาไทยสำหรับผู้ประกอบการชาวไทยที่อยู่ในธุรกิจไมซ์
ด้านกลยุทธ์
• เสนอให้อุตสาหกรรมไมซ์กลายเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve ที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน
• ควรสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดของอุตสาหกรรมไมซ์ โดยการกำหนด Positioning ที่ชัดเจน ทั้งในด้านการจัดประชุม (Meeting) ด้านการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive) ด้านการประชุมนานาชาติ (Conference) และด้านการจัดนิทรรศการ (Exhibition) และต้องดูความสอดคล้องกับกลยุทธ์ภาพใหญ่ในการพัฒนาประเทศพร้อมกันไป
• ควรสำรวจความคิดเห็นจากบริษัทข้ามชาติถึงจุดเด่นของประเทศไทย เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็น Strategic Country ด้านไมซ์พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด Regional Office ในประเทศไทย
• ควรวางแผนการทำ Cross Marketing ระหว่างสินค้าและบริการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
• ควรมีการจัดงานในระดับ Global Brand นอกเหนือจากการจัดประชุมหรือการจัดนิทรรศการปกติ
• ควรสนับสนุนตลาด Hi-End MICE ทั้งในด้านของโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบข้อบังคับ เช่น การมี Private Jet ในประเทศ เป็นต้น
• ควรพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เป็นลักษณะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์
บทบาทของสํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB)
• ควรปรับโครงสร้างของ TCEB ให้คล่องตัวมากขึ้น และลดขั้นตอนการดำเนินการแบบราชการที่ไม่คล่องตัวให้น้อยลง จึงควรแยกส่วนการบริหารงานของ TCEB ให้เป็นอิสระจากกระทรวงการท่องเที่ยว
• ควรมอบอำนาจให้ TCEB เป็นผู้ที่ขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ภาพรวมของประเทศ ในลักษณะ One-Stop Service ทั้งนี้ ควรแก้ไขพระราชบัญญัติด้านอำนาจหน้าที่ของ TCEB ให้เทียบเคียงกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการกำหนดสิทธิประโยชน์และมาตรการสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น การลดภาษี การออกใบอนุญาตทำงาน การให้แรงจูงใจทางภาษีแก่ผู้จัดงาน เป็นต้น
• TCEB ควรดำเนินงานสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมไมซ์ โดยการเป็นผู้นำที่ทำให้เกิดการจัดงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย ดึงงานใหญ่ระดับโลกเข้ามาในประเทศ รวมถึงการจัดงานในระดับสากลด้วยตัวเอง เพื่อดึงดูดนักธุรกิจจากทั่วโลกเข้ามาในประเทศ บทบาทของ TCEP อาจครอบคลุมไปถึงการดูแลความพร้อมด้านต่างๆ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
• TCEB ควรสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมุ่งเน้นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทั้งในด้านตัวเลขทางเศรษฐกิจรวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม
• TCEB ต้องมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เพื่อวิเคราะห์หากลยุทธ์ในอุตสาหกรรมไมซ์ให้ครอบคลุมทุกประเด็น
• TCEB ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
หน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงาน
• สำนักนายกรัฐมนตรี: สนับสนุนให้ TCEB มีอำนาจหน้าที่ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ในภาพรวมอย่างแท้จริง
• กระทรวงการคลัง: สนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจในอุตสาหกรรมไมซ์
• กระทรวงมหาดไทย
• การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
• หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
การระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม สูงถึงเกือบ 91 ล้านคน ในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก สถานการณ์การระบาดครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามอันใหญ่หลวงของมนุษยชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก และยังคงมีผลสืบเนื่องต่อมาในปี 2564 จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกัน ในแง่ของความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีนักธุรกิจใจบุญมากมายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ย้อนไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อาทิ จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ นักธุรกิจชาวอเมริกันเจ้าของกิจการน้ำมันผู้ร่ำรวย และ เฮนรี ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ มาจนถึงผู้นำธุรกิจในยุคปัจจุบันอย่างบิลและเมลินดา เกตส์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสำหรับช่วยเหลือคนในประเทศกำลังพัฒนา และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีระดับโลก ราชานักลงทุนและเจ้าของบริษัท Berkshire Hathaway
กล่าวได้ว่าสุขภาพนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบร่างสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การดูแลสุขภาพได้รับการพัฒนาผ่านการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการปรับโครงสร้างบริการด้านสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค แม้ว่าแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อการมีสุขภาพที่ยั่งยืนจะเพิ่มขึ้น แต่เราสามารถคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจสุขภาพระดับโลกที่แข็งแกร่งสิบปีนับจากนี้ได้ โดยเป้าหมายการเป็นเศรษฐกิจด้านสุขภาพระดับโลกในปี พ.ศ. 2569 ไม่เพียงเป็นการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพสำหรับคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่ในระบบเศรษฐกิจนี้ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมจะถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของสุขภาพ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาสุขภาพสำหรับคนจำนวนมากเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ยังถือเป็นการลงทุนอีกด้วย