TMA และสภาพัฒน์เผยผลการจัดอันดับ IMD World Talent Ranking 2018
ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42
กรุงเทพฯ – สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยผลการจัดอันดับ World Talent Ranking จาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2561 ซึ่งทำการจัดอันดับความสามารถของ 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ด้านการพัฒนา ดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent) โดยเขตเศรษฐกิจที่อยู่ในอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกอยู่ในยุโรปถึง 9 อันดับ ประกอบด้วยเขตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศนอร์ดิกถึง 4 เขตเศรษฐกิจ คือ เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และสวีเดน และเขตเศรษฐกิจนอกยุโรปมีเพียงแคนาดาเท่านั้น
สำหรับเขตเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับ 5 เขตเศรษฐกิจ สิงคโปร์นับได้ว่าอยู่ในอันดับนำมาโดยตลอด อยู่ในอันดับ 13 เช่นเดียวกับปี 2560 และมีจุดเด่นในด้านความพร้อมของบุคลากรที่อยู่ในอันดับที่ 2 จาก 63 เขตเศรษฐกิจ สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับมาตรการด้านการดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพจากภายนอกมาเสริมข้อจำกัดด้านกำลังคนในประเทศของตนเอง ขณะที่มาเลเซียมีอันดับดีขึ้นจาก 28 เป็นอันดับที่ 22 ในปีนี้ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนและพัฒนาบุคลากร ส่วนอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 45 และ 55 ตามลำดับ
ทางด้านประเทศไทยมีผลการจัดอันดับคงที่อยู่อันดับที่ 42 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว พิจารณาผลการจัดอันดับที่ประกอบด้วย 3 ด้านคือ การลงทุนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Investment & Development) ความสามารถในการดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพจากภายนอกประเทศ (Appeal) และความพร้อมของบุคลากรที่มีอยู่ในประเทศ (Readiness) ปรากฏว่าประเทศไทยมีจุดเด่นด้านการดึงดูดและรักษาบุคลากรจากภายนอกอยู่ในอันดับที่ 24 ในขณะที่ด้านการลงทุนและพัฒนาบุคลากร และความพร้อมของบุคลากรยังอยู่ในอันดับค่อนข้างต่ำ คืออันดับที่ 46 และ 50 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ประเด็นที่ประเทศไทยยังต้องพิจารณาปรับปรุง ได้แก่ การเร่งยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ ในมิติอัตราส่วนของครูต่อนักเรียนโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อคนของนักเรียน การขยายตัวของกำลังแรงงาน และประเด็นสำคัญที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรคือ ความสามารถด้านภาษา ผลการสอบวัดระดับ PISA (Program for International Student Assessment) ของ OECD ซึ่งเป็นการวัดความพร้อมของนักเรียนในการใช้ชีวิตในวัยผู้ใหญ่โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการทำความเข้าใจและต่อยอดการเรียนรู้
ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวว่า ประเด็นด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นประเด็นที่มีความสำคัญและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ไว้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ 6 ด้าน โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์เรื่องการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมถึงการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะมีการจัดทำแผนแม่บทเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงต่อไป
ในขณะที่ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน TMA (TMA Center for Competitiveness) กล่าวว่า เราต้องจริงจังมากขึ้นในการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของคน เพิ่มความพร้อมของบุคลากรไทย เพราะจากตัวอย่างเขตเศรษฐกิจที่ติดอันดับท็อปเทน จะเห็นได้ว่าล้วนมีจุดเด่นในด้านการลงทุนเพื่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายและเริ่มดำเนินการที่จะปฏิรูปการศึกษาในด้านต่างๆ ไปบ้างแล้ว เช่น
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาที่สะสมมายาวนาน เพื่อเตรียมเยาวชนและคนไทยทุกระดับ ให้พร้อมกับความท้าทายของโลกในยุคใหม่ ต้องการความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง การเปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงจากบุคลากรในภาครัฐจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จได้
ในส่วนการพัฒนาความพร้อมของบุคลากรภาครัฐและเอกชน TMA ได้ดำเนินโครงการ Thailand Competitiveness Enhancement Program (TCEP) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดย 3 ปีต่อจากนี้ จะมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมด้านการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาต่อไป
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า คำว่า Agility ที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้งในยุคปัจจุบันนี้ อันที่จริงแล้ว หมายถึงอะไร ความเข้าใจที่คุณมีต่อ Agility นั้น ถูกต้องหรือไม่ และคุณจะสามารถนำ Agility มาใช้ในองค์กรของคุณเพื่อบริหารจัดการความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ศาสตราจารย์ Stéphane J. G. Girod ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และนวัตกรรมองค์กร และศาสตราจารย์ Goutam Challagalla ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และการตลาด จากสถาบัน IMD ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Agility ผ่านบทความนี้ว่า เหตุใดคำว่า “Agility” ถึงไม่ได้เป็นเพียงวลียอดนิยมเท่านั้น แต่จัดเป็นส่วนประกอบสำคัญในกลยุทธ์ขององค์กร และคุณจะให้นิยามคำว่า “Agility” ในบริบทของธุรกิจได้อย่างไร
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในอนาคต จำนวนประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2500 อาจจะมีจำนวนประชากรบนโลกนี้ถึงกว่า 1.6 หมื่นล้านคน และยังมีแนวโน้มว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มสูงขึ้นอีกถึง 20 ปี สวนทางกับปริมาณทรัพยากรที่ลดลง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่เป็นดั่งนาฬิกาปลุกให้ทั้งตัวผู้บริโภค บริษัท รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ตื่นตัวในแง่ของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกนี้ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด
ภาพรวมระดับโลกด้านความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ตอกย้ำให้เห็นว่า การปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นความจำเป็นที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวและเติบโตต่อไปได้ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน