การขับเคลื่อนธุรกิจในภูมิทัศน์โลกใหม่
(Lead your Businesses through the New World Landscape)
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
เมื่อไม่นานมานี้ Boston Consulting Group (BCG) ได้เผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง การคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายใต้สมมติฐานที่แตกต่างกัน และข้อเสนอแนะสำหรับผู้นำของภาคส่วนต่าง ๆ ในการปรับตัวเพื่อรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยเนื้อความได้กล่าวถึง ความพยายามของหลายประเทศทั่วโลกที่จะลดจำนวน ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ และเพิ่มจำนวนการตรวจยืนยันผู้ติดเชื้อ จากสถิติทั่วโลก พบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 ประมาณร้อยละ 33 หายป่วย และแนวโน้มระยะเวลาที่จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่านั้น ยาวนานขึ้นเป็น 28 วัน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี ทำให้หลายประเทศ เริ่มวางแผนผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ ที่บังคับใช้ในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม การระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น จะยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ประมาณการว่า เศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ.2563 จะถดถอยลง และในปี พ.ศ.2564 จะยังคงทรงตัว เป็นผลให้เศรษฐกิจโลกจะยังไม่สามารถกลับไปสู่ภาวะเดิมก่อนที่จะมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ ก่อนสิ้นสุดปี พ.ศ.2564
ความต่อเนื่องและยาวนานจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 นับจากนี้ ทำให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมและวิถีการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ นอกจากนี้ จากแนวโน้มผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ที่จัดอันดับโดย IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จาก 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2559 – 2563) อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยในภาพรวมมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ โดยอยู่ในอันดับที่ 28 ในปี 2559 และมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามสถานการณ์ต่าง ๆ โดยในปี 2562 มีอันดับที่ดีขึ้นถึง 5 อันดับเป็นอันดับที่ 25 ก่อนที่จะลดลงเป็นอันดับที่ 29 ในปีนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีความท้าทายในด้านการเตรียมพร้อมและปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่นับวันจะรุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้น
TMA จึงได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลบทความที่น่าสนใจของบริษัทที่ปรึกษาและสถาบันระดับโลกที่น่าเชื่อถือหลายแห่ง รวมทั้งข้อมูลสถานการณ์ในประเทศไทย อันเป็นประโยชน์แก่ภาคธุรกิจไทยใน แต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง และเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยคัดสรรมานำเสนอในซีรีส์ชุด “การขับเคลื่อนธุรกิจในภูมิทัศน์โลกใหม่” (Lead your Businesses through the New World Landscape) นี้ ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาเกี่ยวกับ “8 อนาคตธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19” (8 Post COVID-19 Outlook for Businesses) ดังนี้
อนาคตธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 ทั้ง 8 เรื่องข้างต้น จะช่วยให้ภาคธุรกิจไทยในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลพื้นฐานสำหรับประกอบการวางแผนหรือตัดสินใจต่าง ๆ รวมถึงสามารถเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และปรับธุรกิจได้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งน่าสนใจว่า ภาคธุรกิจไทยควรจะปรับตัวหรือเตรียมความพร้อมอย่างไร เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้ รวมถึงมีศักยภาพเพียงพอที่จะแข่งขัน ในภูมิทัศน์โลกใหม่นี้?”
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในอนาคต จำนวนประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2500 อาจจะมีจำนวนประชากรบนโลกนี้ถึงกว่า 1.6 หมื่นล้านคน และยังมีแนวโน้มว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มสูงขึ้นอีกถึง 20 ปี สวนทางกับปริมาณทรัพยากรที่ลดลง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่เป็นดั่งนาฬิกาปลุกให้ทั้งตัวผู้บริโภค บริษัท รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ตื่นตัวในแง่ของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกนี้ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด
ภาพรวมระดับโลกด้านความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ตอกย้ำให้เห็นว่า การปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นความจำเป็นที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวและเติบโตต่อไปได้ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
การระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม สูงถึงเกือบ 91 ล้านคน ในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก สถานการณ์การระบาดครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามอันใหญ่หลวงของมนุษยชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก และยังคงมีผลสืบเนื่องต่อมาในปี 2564 จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกัน ในแง่ของความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน