โลกใบใหม่หลังวิกฤตโควิด-19
(The World Remade by COVID-19)
จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมากจากวิกฤตนี้ Deloitte และ Salesforce ได้ร่วมกันระดมความคิดของผู้เชี่ยวชาญเพื่อคาดการณ์ผลกระทบที่เป็นไปได้ทั้งต่อสังคมและภาคธุรกิจ ว่าหลังวิกฤตผ่านไปจะเป็นอย่างไร และควรเตรียมพร้อมอะไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ในโลกใบใหม่นี้ ในรูปแบบความเป็นไปได้ (Scenario) ต่าง ๆ
บทความนี้ ได้นำเสนอมุมมองของนักคิดที่มีชื่อเสียงระดับโลกเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาภาคธุรกิจและสังคม ในช่วง 3-5 ปี นับจากนี้ว่า จะเกิดขึ้นได้ในรูปแบบใดบ้าง เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้นำองค์กรในช่วงวิกฤตทั้งหลายใน 4 ประเด็น ดังนี้
บุคลากรและนักวิจัยด้านสาธารณสุข คือกำลังพลแถวหน้าในการต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่งพยายามที่จะลดการแพร่ระบาดของโรคและจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล ในขณะที่การระบาดของโรคยังทำให้ประชาชนมากกว่าพันล้านคนทั่วโลกไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
ท่ามกลางแบบจำลองและการคาดการณ์จำนวนมากนั้น ไม่มีใครกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า สถานการณ์การระบาดจะเป็นอย่างไรต่อไป รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้คนและสังคม และในท้ายที่สุด แม้ว่าวิกฤตครั้งนี้จะสิ้นสุดลง แต่หากทุกอย่างไม่กลับไปเป็นเช่นเดิม น่าสนใจว่าจะผลจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้จะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ปัจจัยอันไม่แน่นอน 5 ประการ จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่
การคาดการณ์รูปแบบความเป็นไปได้ต่อสังคมและภาคธุรกิจ อันเป็นผลกระทบจากการระบาดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ได้ผ่านกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ท้าทายแนวความคิดดั้งเดิม และคำนึงถึงปัจจัยความไม่แน่นอนต่าง ๆ ข้างต้น จะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม รูปแบบความเป็นไปได้เหล่านี้ มิใช่เป็นการทำนายว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถเกิดขึ้น และฉายภาพให้เห็นโอกาสใหม่ ๆ หรือความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ ภายในกรอบระยะเวลา 3-5 ปีต่อจากนี้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการนำไปปฏิบัติและทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบความเป็นไปได้
รูปแบบความเป็นไปได้ 4 รูปแบบที่แตกต่างกัน จากแนวโน้มในปัจจุบันและปัจจัยอันไม่แน่นอนที่สำคัญ สามารถสรุปได้ดังนี้
รูปแบบที่ 1 : พายุที่ผ่านพ้นไป (The passing storm)
การระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคม แต่หลังจากการเริ่มต้นของการระบาดอย่างช้า ๆ ได้มีการตอบสนองของระบบสาธารณสุขและภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไวรัสถูกกำจัดอย่างรวดเร็วก่อนช่วงเวลาที่มีการคาดการณ์ไว้ จากการประสานงานขององค์กรระดับโลกในการสร้างความตระหนักและแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี ความสามารถในการควบคุมจัดการวิกฤตนี้ ทำให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจในองค์กรภาครัฐอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการระบาดจะกินเวลาเพียงในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างยาวนาน นโยบายที่ออกมาเพื่อกระตุ้นภาคการคลังและการเงินนั้น ช่วยลดผลกระทบจากวิกฤตได้บ้าง แต่ไม่สามารถช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงประชาชนที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบสามารถฟื้นคืนกลับมาได้ ความตึงเครียดระหว่างชนชั้นทางสังคมต่าง ๆ กลับมีมากขึ้น
สมมติฐานของรูปแบบความเป็นไปได้ที่ 1
รูปแบบที่ 2 : ความร่วมมืออันดี (Good company)
การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไปหลังจากการคาดการณ์ครั้งแรก ส่งผลให้รัฐบาลทั่วโลกต้องรับภาระหนักในการพยายามที่จะรับมือกับวิกฤติด้วยตนเอง ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจึงเกิดขึ้น โดยภาคเอกชนมีบทบาทในการช่วยแก้ไขปัญหาระดับโลกมากขึ้น สภาพแวดล้อมใหม่เกิดขึ้น โดยภาคเอกชนจากหลากหลายอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกันเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นในวิกฤตนี้ และช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยบริษัทสื่อโซเชียลมีเดีย บริษัทแพลตฟอร์ม และบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี กลายเป็นกลุ่มบริษัทที่มีความสำคัญอย่างมาก
ในท้ายที่สุด ภาคเอกชน ได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดไปสู่ “การคำนึงถึงทุกภาคส่วน (Stakeholder capitalism)” โดยใส่ใจว่า พวกเขาจะสามารถดูแลลูกค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงานของเขาอย่างดีที่สุดได้อย่างไร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นหลังการเกิดวิกฤต
สมมติฐานของรูปแบบความเป็นไปได้ที่ 2
รูปแบบที่ 3 : ดวงอาทิตย์ขึ้นในทิศตะวันออก (Sunrise in the east)
การระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นรุนแรง และสถานการณ์ในหลายพื้นที่ทั่วโลกยังไม่คลี่คลาย ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก สามารถจัดการโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในขณะที่ ประเทศฝั่งตะวันตกประสบกับความยากลำบาก จากผลกระทบอันต่อเนื่องยาวนาน ทั้งในเชิงบุคลากร สังคมและเศรษฐกิจ จากการตอบสนองที่ช้าและขาดความต่อเนื่อง
กลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลก เปลี่ยนไปเป็นประเทศฝั่งตะวันออกอย่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก และกลายมาเป็นศูนย์ประสานงานระดับโลกของระบบสาธารณสุข และหน่วยงานพหุภาคีต่าง ๆ ศักยภาพของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ในการยับยั้งโรคระบาดจากการตอบสนองอันเยี่ยมยอดของรัฐบาลนั้น กลายเป็นมาตรฐานของโลก
สมมติฐานของรูปแบบความเป็นไปได้ที่ 3
รูปแบบที่ 4 : หมาป่าผู้โดดเดี่ยว (Lone wolves)
การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกนั้นยาวนานกว่าที่คาดไว้ การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยที่เสียชีวิต ความวุ่นวายในสังคม และเศรษฐกิจตกต่ำเด่นชัดขึ้น ภัยคุกคามต่าง ๆ และความหวาดระแวงที่เพิ่มขึ้นยังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป
นานาประเทศต่างใช้นโยบายควบคุมและจำกัดการเดินทางขนส่งระหว่างประเทศ ด้วยเหตุผลความปลอดภัยในประเทศ การควบคุมดูแลของรัฐบาลถือเป็นเรื่องปกติ โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยตรวจตราประชาชนในการเดินทางเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ
สมมติฐานของรูปแบบความเป็นไปได้ที่ 4
คำแนะนำสำหรับการประยุกต์ใช้ในองค์กร
จากความเป็นไปได้ทั้ง 4 รูปแบบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 และผลกระทบต่อสังคมและภาคธุรกิจ คำถามชวนคิดสำหรับองค์กรเพื่อการประยุกต์ใช้ต่อไป คือ
อย่างไรก็ตาม รูปแบบความเป็นไปได้ที่นำเสนอเหล่านี้ เป็นเพียงการคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่ง ณ ตอนนี้ ยังอาจเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่ารูปแบบความเป็นไปได้อันใด หรืออื่นใดที่จะเกิดขึ้น แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้นำองค์กรก็จำเป็นต้องวางแผนเตรียมพร้อมรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม
ที่มา: Deloitte Touche Tohmatsu Limited (“DTTL”)
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
การระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม สูงถึงเกือบ 91 ล้านคน ในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก สถานการณ์การระบาดครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามอันใหญ่หลวงของมนุษยชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก และยังคงมีผลสืบเนื่องต่อมาในปี 2564 จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกัน ในแง่ของความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีนักธุรกิจใจบุญมากมายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ย้อนไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อาทิ จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ นักธุรกิจชาวอเมริกันเจ้าของกิจการน้ำมันผู้ร่ำรวย และ เฮนรี ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ มาจนถึงผู้นำธุรกิจในยุคปัจจุบันอย่างบิลและเมลินดา เกตส์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสำหรับช่วยเหลือคนในประเทศกำลังพัฒนา และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีระดับโลก ราชานักลงทุนและเจ้าของบริษัท Berkshire Hathaway
กล่าวได้ว่าสุขภาพนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบร่างสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การดูแลสุขภาพได้รับการพัฒนาผ่านการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการปรับโครงสร้างบริการด้านสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค แม้ว่าแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อการมีสุขภาพที่ยั่งยืนจะเพิ่มขึ้น แต่เราสามารถคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจสุขภาพระดับโลกที่แข็งแกร่งสิบปีนับจากนี้ได้ โดยเป้าหมายการเป็นเศรษฐกิจด้านสุขภาพระดับโลกในปี พ.ศ. 2569 ไม่เพียงเป็นการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพสำหรับคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่ในระบบเศรษฐกิจนี้ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมจะถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของสุขภาพ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาสุขภาพสำหรับคนจำนวนมากเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ยังถือเป็นการลงทุนอีกด้วย