สรุปสาระสำคัญจากการสัมมนาพิเศษ
Executive Forum on Competitiveness 2020 ครั้งที่ 1
“The Show Must Go on: Way Forward for Travel & Hospitality Service Industry”
Session 1: “The impact of COVID-19 on the Thai economy”
โดย ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจไทย จากผลกระทบของ COVID-19 นั้น พบว่า รายได้จากต่างประเทศ คือ การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลัก ร้อยละ 12 ของมูลค่า GDP ไทยลดลง ในขณะที่ อุปสงค์และการใช้จ่ายภายในประเทศก็มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะสินค้าจำพวกคงทน (Durable goods) เช่น เสื้อผ้า และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีอัตราการเติบโตติดลบค่อนข้างมาก เพราะสินค้าเหล่านี้ คนมองว่า สามารถเลื่อนการใช้จ่ายออกไปได้ รวมถึงผลจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์ (Lockdown) ควบคุมการเดินทางของภาครัฐ ทำให้การใช้จ่ายในประเทศมีมูลค่าลดลงจากการเลื่อนใช้จ่ายออกไป นอกจากนี้ จากข้อมูลรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไทย ปี 2562 มีตัวเลขลดลง ต่ำกว่าปี 2560 และหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ภาพรวมเงินออมของครัวเรือนไทย ส่วนใหญ่อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน หากขาดรายได้หรือเผชิญวิกฤต การจ้างงานในไทยมีแนวโน้มลดลง ตัวเลขอัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น อ้างอิงจากข้อมูลการจ่ายเงินประกันสังคมเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการเติบโตติดลบถึงร้อยละ 3.2 จากช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 และข้อมูลจากเว็บไซต์รับสมัครงาน JOBSDB.COM พบว่า จำนวนตำแหน่งประกาศจ้างงาน ลดต่ำลงกว่าร้อยละ 19 จากช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนใหญ่จะเป็นภาคที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ยิ่งไปกว่านั้น ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจยังลดลงสู่จุดต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าตลอดปี 2564 มูลค่าการส่งออกของไทย น่าจะติดลบมากกว่าร้อยละ 10 ภาพรวมผลเชิงลบจากวิกฤติครั้งนี้ จะเริ่มต้นจากคนระดับล่างขึ้นมา ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ธุรกิจปิดกิจการสูงขึ้นกว่าร้อยละ 11 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ ผนวกกับมาตรการภาครัฐที่อัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจ ที่จะจบลงในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ถือเป็นความท้าทายภาครัฐว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต่อไปอย่างไร
อย่างไรก็ตาม บางภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมกลับมีแนวโน้มการเติบโตในทางบวก ท่ามกลางวิกฤตครั้งนี้ ได้แก่ ธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ พบว่า คนไทย มีการใช้บัตรเครดิต/เดบิต ทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมจำพวกอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ ในส่วนของตัวเลขการจ้างงานของภาครัฐ งานด้านเทคโนโลยี งานด้านการแพทย์สาธารณสุข ยังคงทรงตัว เมื่อพิจารณาเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวน่าจะยังคงซบเซา และฟื้นตัวไม่ได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาอันใกล้นี้ ทั้งนี้ โครงการ Travel bubble ที่มีการเสนอกันอยู่นั้น มองว่า น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ค่อนข้างช้า เพราะการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวทางการปรับตัวของภาครัฐและภาคเศรษฐกิจไทย เห็นว่า ภาครัฐยังควรดำเนินมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป แต่จำเป็นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ภาคการเงิน ควรมีมาตรการช่วย SMEs ที่ขาดสภาพคล่อง และเน้นเรื่องการยกระดับพัฒนาทักษะของแรงงานไทย ในช่วงที่มีอุปทานของแรงงานในตลาดสูงกว่าอุปสงค์ค่อนข้างมาก ข้อแนะนำต่อภาคธุรกิจ และประชาชนในการปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤต COVID-19 ในครั้งนี้ คือ
1) เตรียมสภาพคล่องทางการเงิน ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น
2) เน้นผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภค เพื่อสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ต่อสินค้าและบริการของลูกค้า เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก
3) ลงทุนในสิ่งที่จำเป็น เช่น การพัฒนาคน และระบบออนไลน์
Session 2: “Way forward for travel & hospitality service industry”
โดย คุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คุณภัทรียา พัวพงศกร บรรณาธิการหมวดท่องเที่ยว The Cloud
คุณสมเพชร คติสมสกุล Co-founder & COO “SNEAK”
ดำเนินการอภิปรายโดย
คุณนุสติ คณีกุล ผู้จัดการอาวุโส ศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
คุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา เปิดศักราชต้นปี 2563 นั้น ยังคงมีแนวโน้มที่สดใส ภาคการท่องเที่ยวไทย เพิ่งจะฟื้นตัวดีขึ้นเป็นปกติ จากปี 2561 ที่มีเหตุการณ์เรือล่มที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชาวจีน ขาดความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย ปัญหาการทำลายธรรมชาติ จากการคาดการณ์ก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์การระบาดของ COVID-19 นั้น คาดว่า ปี 2563 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ประมาณ 41-42 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประมาณ 39 ล้านคน แต่เมื่อเกิดวิกฤต COVIS-19 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ส่งผลให้ทุกอย่างพลิกผัน และผลกระทบเกิดขึ้นต่อภาคการท่องเที่ยวรุนแรงที่สุด กระทบการเดินทางทั้งหมดโดยสิ้นเชิง เครื่องบินหยุดทำการบิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องหยุดชะงัก รวมถึงการท่องเที่ยว อัตราการเข้าพักโรงแรมในประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยการเข้าพักเหลือเพียงร้อยละ 0-5 แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวค่อย ๆ ลดลง โดยมีตัวเลขนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศสะสมในช่วงต้นปี ก่อนปิดน่านฟ้าเหลือเพียง 6.75 ล้านคน และจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศ 30-40 ล้านคน ทำให้คาดการณ์ว่า ตลอดปี 2563 รายได้จากการท่องเที่ยวของไทย จะเหลือเพียง 700,000 ล้านบาท ลดลงกว่าร้อยละ 80 จากปีก่อน ทั้ง ๆ ที่การท่องเที่ยวถือเป็นแหล่งขับเคลี่อนรายได้ที่สำคัญของประเทศไทย ผนวกกับกำลังซื้อในประเทศที่ลดลงเช่นกัน จึงประมาณการได้ว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นต่อการท่องเที่ยวน่าจะรุนแรงมาก โดยการท่องเที่ยวทั่วโลก ได้รับผลกระทบทั่วถึงเช่นเดียวกันหมด คาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยว น่าจะติดลบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 78 สำหรับการเดินทางทั่วโลก
นอกจากนั้น การระบาดของ COVID-19 ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องหลายอย่าง คนไทยยังหวาดกลัว ว่าจะมี imported case เข้ามาอีกหรือไม่ ในขณะที่ ประเทศไทยมีอัตราการพึ่งพิงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศค่อนข้างสูง ต้นทุนในการเดินทางสูงขึ้น การเดินทางแต่ละครั้งของคน ต้องคิดทบทวนมากขึ้น เช่น จำเป็นต้องซื้อประกันการเดินทางหรือไม่ หากเดินทางไป จะทำให้ต้องโดนกักตัวหรือไม่ ซึ่งทำให้คนไม่อยากเดินทาง มองว่า New Normal ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีน ทัศนคติคนไทย ยังไม่พร้อมเปิดรับคนต่างชาติเข้ามา ต้องรอจังหวะที่เหมาะสม โรงแรมที่ยังไม่สามารถเปิดดำเนินกิจการ สถาบันการเงินจะรองรับ stress test ได้เท่าไร ทั้งนี้ ททท. ได้ทำการประมาณการจุดวิกฤติ จากปัจจุบันที่โรงแรมไทย มีอัตราการเข้าพักเพียงร้อยละ 0 – 5 โดยเฉลี่ย แต่ถ้าจะสามารถรอดพ้นจากวิกฤตนี้จริง ๆ ทั้งประเทศต้องมีอัตราการเข้าพักถึงร้อยละ 28 ภายในสิ้นปีนี้ มิเช่นนั้นทุกภาคส่วนอาจได้รับผลกระทบมหาศาล อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ยังคงสามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยด้านสาธารณสุข วัฒนธรรม และธรรมชาติที่สวยงาม ทำให้ กทม. เป็นแหล่งจุดหมายปลายทางของการเดินทางอันดับแรก (Top of mind) อ้างอิงจากยอดค้นหาทางอินเทอร์เน็ตสูงสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้
แนวโน้มการท่องเที่ยวของไทยในอนาคต ควรเน้นในเรื่องของความปลอดภัยและความยั่งยืน (Safe & Sustainable future) เพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวยังคงเดินหน้าต่อไปได้ โดย ททท. แนะนำ 3D สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการท่องเที่ยวต้องปรับตัวดังนี้
3D ในการปรับตัวสำหรับภาคการท่องเที่ยว:
D ที่ 1: Domestic เน้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ กลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักท่องเที่ยวไทยที่นิยมไปเที่ยวต่างประเทศทุกปี จำนวนประมาณ 12-13 ล้านคน ให้หันมาท่องเที่ยวในประเทศแทน ซึ่งอาจทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศได้ถึง 400,000 ล้านบาท 2) กลุ่ม Expats ซึ่งมีอยู่ถึง 12 ล้านคน ในประเทศไทย ซึ่งมีความต้องการท่องเที่ยว แต่ไม่รู้จะไปสถานที่ใด และ 3) กลุ่มงานประชุมสัมมนาของภาครัฐ เพื่อลดความเสี่ยงจากภายนอก
D ที่ 2: Digital ซึ่งขณะนี้ เป็นประเด็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเทคโนโลยี จะช่วยในการลดความเสี่ยงของการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้
D ที่ 3: Dynamism โดยภาคธุรกิจต้องสามารถปรับตัวได้ ต้อง Agile ปรับ business model ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส พิจารณาว่า COVID-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร และควรปรับตัวอย่างไรให้มี Safe & Sustainable
โดยนโยบายของ ททท. ปัจจุบัน เน้นการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะประเทศเพื่อนบ้านตอนนี้ เช่น พม่า ลาว มีสถานที่ท่องเที่ยว Unseen มากกว่าเรา ซึ่งมองว่าส่วนใหญ่ สถานที่ต่าง ๆ จะเป็นที่สนใจในการท่องเที่ยวได้ มักจะเกิดจากคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ไปท่องเที่ยวเป็นจุดเริ่มต้น แล้วมีการบอกต่อกันไป
คุณสมเพชร คติสมสกุล Co-founder & COO “SNEAK” ระบุว่า สำหรับธุรกิจ Startup SNEAK นั้น ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าต่างชาติ และก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ทาง SNEAK ได้วางแผนจะทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดโอลิมปิก ที่ประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อวิกฤตเกิดขึ้น ทำให้โมเดลธุรกิจไปต่อไม่ได้ จึงคิดที่จะนำบริการที่มีมาปรับใช้กับคนไทย แต่พบว่าใช้ไม่ได้ เพราะคนไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไปจากคนต่างชาติ โดยนิยมวางแผนทริปก่อนเดินทาง และท่องเที่ยวตามเพื่อนค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจ SNEAK ว่า เกิดจากการเห็นภาพเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวในสื่อโซเชียลต่าง ๆ ซึ่งร้อยละ 70 ของภาพบนอินสตาแกรม จะเป็นภาพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และพบว่าการวางแผนทริปแต่ละครั้ง ต้องใช้เวลาในการวางแผน จองตั๋วเดินทางค่อนข้างมาก SNEAK จึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยลูกค้าสร้างแผนทริปท่องเที่ยว เกิดเป็นบริการ Customization City Pass จากการที่พฤติกรรมผู้บริโภคมีแนวโน้ม Personalized มากขึ้น
ในส่วนของสถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทย พบว่าในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม การค้นหาทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของคนไทย ลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มหวาดกลัวการระบาดของ COVID-19 ลดลงเล็กน้อย
การปรับตัวทางธุรกิจของ SNEAK จากเดิมที่บริการไม่ตอบโจทย์คนไทย จึงเกิดเป็นคำถามตามมาว่า SNEAK ควรปรับธุรกิจอย่างไร เพื่อให้บริการที่มีอยู่คนไทยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในท้ายที่สุด SNEAK จึงปรับบริการมาทำเป็น Café pass เพราะคนไทยมีการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น แกร็บ (Grab) มากขึ้น มองว่าแนวโน้มผู้บริโภคที่กำลังมาแรงคือ Personalization Customer Life Time Value และ Environmental friendly ให้ความสำคัญเรื่องประสบการณ์ลูกค้ามากกว่าราคา โดยพบว่า ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มจองตั๋วต่าง ๆ หลังมีการเดินทางมากขึ้น ประมาณร้อยละ 48 จากเดิมที่จะนิยมจองล่วงหน้า นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Boston Consulting Group (BCG) ระบุว่า การที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแบบ Individual need หรือ personalization ตามแนวโน้มข้างต้นได้นั้น ต้องอาศัยเรื่อง Strength of human & machine และการใช้ข้อมูลต่าง ๆ และได้กล่าวถึง Bionic Pricing & Revenue Management ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย อันจะช่วยปรับตัวในโลกพลวัตนี้ได้ คือ ราคา คน และเทคโนโลยี รวมถึงได้ระบุถึงแนวทางในการเสาะหาโอกาสและปรับตัวของ SNEAK ที่ใช้ข้อมูล (Data driven) และเทคโนโลยีเป็นหลัก เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน โดยอาจจะพิจารณาเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก็ได้ เช่น Facebook data analysis ซึ่งจะทำให้เห็นข้อมูลเชิงลึกบางอย่าง เพื่อนำไปศึกษาเรียนรู้ทางธุรกิจต่อได้
คุณภัทรียา พัวพงศกร บรรณาธิการหมวดท่องเที่ยว The Cloud เล่าถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจของ The Cloud ว่า ปัจจุบันเราจะพบภาพหรือ Content เกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้ง่ายมากตามสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งบางครั้ง ส่งผลให้เสน่ห์การเดินทางขาดหายไป The Cloud จึงเกิดไอเดีย Travel to Learn. Travel with Concepts. ซึ่งประกอบด้วย 7 รูปแบบท่องเที่ยว ได้แก่ 1) Travelogue 2) Creative Destination 3) Hotel with storytelling 4) Walk with The Cloud 5) Earth Appreciation 6) The Cloud Journey และ 7) อิ่มทริป ที่แต่ละรูปแบบจะมีความแตกต่างกันออกไป เน้นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ เน้นเรื่องประสบการณ์ที่แตกต่าง (Unique Experience) บันทึกการเดินทาง คัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจ เช่น เรื่องอาหาร เรื่องโบสถ์ เรื่องสถาปัตยกรรม ตามความสนใจของ แต่ละกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม จากการระบาดของไวรัส COVID-19 นั้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ The Cloud เหมือนกัน ทำให้ต้องฝึกและพัฒนาทักษะใหม่ด้านออนไลน์ จากเดิมที่จัดอีเวนต์ หันมาดำเนินการผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ และโปรแกรมซูมแทน เน้นเรื่องการท่องเที่ยวในท้องถิ่น (Localization) มากขึ้น และกระจายความเสี่ยงของธุรกิจ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันและหลากหลาย ตามความสนใจ และใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน
ในช่วงท้ายของการอภิปราย มีการพูดคุยถึงเรื่อง Travel bubble จับคู่ประเทศท่องเที่ยว ซึ่งผู้ร่วมอภิปรายเห็นตรงกันว่า ในทางปฏิบัติอาจยังไม่สามารถทำได้ง่าย เพราะในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ก็ยังมีเคสการระบาดกลับมาเป็นระลอก รวมถึงการเดินทางจะมีขั้นตอนในการเข้าประเทศเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งอาจส่งผลต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ไม่น่าพอใจ จากการที่ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม (Everything is Under Control) และสำหรับประเทศไทยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เรื่องความปลอดภัยของประชาชน ในการตัดสินใจว่าจะเปิดประเทศหรือไม่ อย่างไรก็ตามแนวโน้มภาคการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน 3 ประการ คือ 1) Technology 2) Environment และ 3) Sustainability ธุรกิจควรมีระบบออนไลน์ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินการต่าง ๆ รวมถึงการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ปรับ Mindset เพราะปัจจุบันปลาเร็วเท่านั้นที่จะอยู่รอด พิจารณาว่า การเปลี่ยนแปลงที่ธุรกิจจะดำเนินการสอดคล้องตอบรับกับการท่องเที่ยวสมัยใหม่หรือไม่
ประเด็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน มองว่าเป็นสิ่งดีที่ภาครัฐและธุรกิจสตาร์ทอัปมาร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันเปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวในประเทศไทย ให้มีความเข้มแข็ง คาดการณ์ว่า ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้าอาจจะเร็วไปที่จะสามารถกล่าวได้ว่าภาคการท่องเที่ยวไทย จะกลับมาเป็นปกติ แนะนำธุรกิจที่เกี่ยวข้องภาคการท่องเที่ยวไทย ไม่ควรพึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาในอนาคต แต่ควรให้ความสำคัญกับคนในประเทศไทยที่ยังคงมีกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มไทยเที่ยวนอก Expat และการประชุมสัมมนาในประเทศ ร่วมกับการนำเสนอบริการที่แตกต่างเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มเป้าหมาย (Niche) เจาะลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ที่มี Persona ชัดเจน เน้นช่วยตนเองก่อน ต้องปรับตัว เป็นปลาเร็ว นำสินค้าและบริการที่มีอยู่เดิมมาปรับเปลี่ยนพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2563 โดยประเทศไทย มีผลคะแนนสุทธิลดลงจาก 77.233 มาอยู่ที่ 75.387 ส่งผลให้ผลการจัดอันดับของประเทศไทยลดลง 4 อันดับ จากอันดับที่ 25 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 29 ใกล้เคียงกับอันดับในปี 2561 ซึ่งอยู่ที่อันดับที่ 30
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2563 โดยประเทศไทย มีผลคะแนนสุทธิลดลงจาก 77.233 มาอยู่ที่ 75.387 ส่งผลให้ผลการจัดอันดับของประเทศไทยลดลง 4 อันดับ จากอันดับที่ 25 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 29 ใกล้เคียงกับอันดับในปี 2561 ซึ่งอยู่ที่อันดับที่ 30
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในอนาคต จำนวนประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2500 อาจจะมีจำนวนประชากรบนโลกนี้ถึงกว่า 1.6 หมื่นล้านคน และยังมีแนวโน้มว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มสูงขึ้นอีกถึง 20 ปี สวนทางกับปริมาณทรัพยากรที่ลดลง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่เป็นดั่งนาฬิกาปลุกให้ทั้งตัวผู้บริโภค บริษัท รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ตื่นตัวในแง่ของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกนี้ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด
ภาพรวมระดับโลกด้านความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ตอกย้ำให้เห็นว่า การปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นความจำเป็นที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวและเติบโตต่อไปได้ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
การระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม สูงถึงเกือบ 91 ล้านคน ในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก สถานการณ์การระบาดครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามอันใหญ่หลวงของมนุษยชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก และยังคงมีผลสืบเนื่องต่อมาในปี 2564 จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกัน ในแง่ของความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีนักธุรกิจใจบุญมากมายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ย้อนไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อาทิ จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ นักธุรกิจชาวอเมริกันเจ้าของกิจการน้ำมันผู้ร่ำรวย และ เฮนรี ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ มาจนถึงผู้นำธุรกิจในยุคปัจจุบันอย่างบิลและเมลินดา เกตส์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสำหรับช่วยเหลือคนในประเทศกำลังพัฒนา และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีระดับโลก ราชานักลงทุนและเจ้าของบริษัท Berkshire Hathaway
กล่าวได้ว่าสุขภาพนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบร่างสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การดูแลสุขภาพได้รับการพัฒนาผ่านการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการปรับโครงสร้างบริการด้านสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค แม้ว่าแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อการมีสุขภาพที่ยั่งยืนจะเพิ่มขึ้น แต่เราสามารถคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจสุขภาพระดับโลกที่แข็งแกร่งสิบปีนับจากนี้ได้ โดยเป้าหมายการเป็นเศรษฐกิจด้านสุขภาพระดับโลกในปี พ.ศ. 2569 ไม่เพียงเป็นการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพสำหรับคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่ในระบบเศรษฐกิจนี้ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมจะถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของสุขภาพ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาสุขภาพสำหรับคนจำนวนมากเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ยังถือเป็นการลงทุนอีกด้วย
COVID-19 คือปัญหาระยะสั้น แต่ “ภาวะโลกร้อน” เป็นปัญหาระยะยาว
“Sustainability Forum 2000 : Creating a Resilient City” ที่จัดโดย TMA ความรู้และความเห็นในแง่มุมต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลก
รวมการแลกเปลี่ยนทรรศนะ ยกระดับความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันด้านต่าง ๆ ทั้งภาคเศรษฐกิจ บริการ การท่องเที่ยว ดิจิทัล จากผู้นำทางความคิดทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักวิชาการทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ
หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 จะเห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้บริโภคไปจนถึงวิธีคิด และหากมองในมิติของเศรษฐกิจโลกจะพบว่า ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน ซึ่งแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนั้นก็มาจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะทำความเข้าใจความเป็นไปในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยงานวิจัยจากบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลกอย่าง McKinsey ได้เผยถึงแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภครวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือผ่านการตั้งคำถามที่จะมีผลต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจในอนาคต
การระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงระบบ Supply chain ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อน และเป็นเหตุให้เราต้องกลับมาทบทวนสิ่งที่ดำเนินการกันอยู่อีกครั้งหนึ่ง
1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 กลายเป็นวันแรงงานสากลที่โลกต้องจดจำ เพราะเป็นวันแรงงานในช่วงที่โรคระบาดกำลังลุกลามทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างกว้างขวาง โดย International Labour Organization (ILO) ได้คาดการณ์ว่าประชากรในวัยแรงงานเกือบ 1.5 พันล้านคน ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียช่องทางทำมาหากิน
วิกฤตการณ์โควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับผู้คนและโลกใบนี้ ซึ่งการรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด-19 และสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้นั้น ถือเป็นการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของโลกเลยก็ว่าได้ ภาคธุรกิจจึงควรมีการวางแผนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและวิถีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดย McKinsey ได้นำเสนอ 7 องค์ประกอบที่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างวิถีใหม่ (Next normal) และผู้นำธุรกิจควรพิจารณา ดังนี้
สถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจไทย จากผลกระทบของ COVID-19 นั้น พบว่า รายได้จากต่างประเทศ คือ การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลัก ร้อยละ 12 ของมูลค่า GDP ไทยลดลง ในขณะที่ อุปสงค์และการใช้จ่ายภายในประเทศก็มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะสินค้าจำพวกคงทน (Durable goods) เช่น เสื้อผ้า และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีอัตราการเติบโตติดลบค่อนข้างมาก เพราะสินค้าเหล่านี้ คนมองว่า สามารถเลื่อนการใช้จ่ายออกไปได้ รวมถึงผลจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์ (Lockdown) ควบคุมการเดินทางของภาครัฐ ทำให้การใช้จ่ายในประเทศมีมูลค่าลดลงจากการเลื่อนใช้จ่ายออกไป
จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมากจากวิกฤตนี้ Deloitte และ Salesforce ได้ร่วมกันระดมความคิดของผู้เชี่ยวชาญเพื่อคาดการณ์ผลกระทบที่เป็นไปได้ทั้งต่อสังคมและภาคธุรกิจ ว่าหลังวิกฤตผ่านไปจะเป็นอย่างไร และควรเตรียมพร้อมอะไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ในโลกใบใหม่นี้ ในรูปแบบความเป็นไปได้ (Scenario) ต่าง ๆ
ในปี 2563 IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร ณ ไตรมาสแรก ปี 2563 และข้อมูลเชิงประจักษ์ (Hard data) ปี 2562 ซึ่งมีการจัดอันดับโดยการประเมินในเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) 2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) 3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และ 4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2563 โดยประเทศไทย มีผลคะแนนสุทธิลดลงจาก 77.233 มาอยู่ที่ 75.387 ส่งผลให้ผลการจัดอันดับของประเทศไทยลดลง 4 อันดับ จากอันดับที่ 25 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 29 ใกล้เคียงกับอันดับในปี 2561 ซึ่งอยู่ที่อันดับที่ 30
ข้อมูลจากการประชุมประจำปีของ WEF ปี 2563 ระบุว่า การปฏิบัติอุตสาหกรรม 4.0 จะทำให้ตลาดงานเปลี่ยนไป ดังนั้นแต่ละประเทศจะต้องตอบให้ได้ว่า ทักษะด้านใดที่มีความสำคัญเร่งด่วน และจะจัดการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาทักษะต่างๆอย่างไร เพื่อให้กำลังแรงงานของประเทศมีความพร้อมสำหรับงานที่เปลี่ยนไปและงานใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
สถาบัน International Institute for Management Development (IMD)ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศผล IMD World Talent Ranking 2019 โดยประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก และสวีเดน ตามลำดับ ส่วนไทยติดอันดับ 43
World Economic Forum (WEF) เปิดเผยรายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index: GCI) ปี 2019 ประเทศไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น แต่อันดับลดลงจาก 38 เป็น40
จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดยIMD ในปี 2562 ประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันอยู่ที่อันดับ 40 จาก 63 ประเทศทั่วโลก โดยลดลง 1อันดับจากปี 2561 เมื่อพิจารณาผลการจัดอันดับของประเทศไทยตามปัจจัยหลักที่ใช้ในการจัดอันดับรวม 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านดิจิทัล (Knowledge) เทคโนโลยี (Technology) และความพร้อมในอนาคต (Future readiness) พบว่า ปัจจัยที่มีอันดับดีที่สุดยังคงเป็นด้านเทคโนโลยี (Technology) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 27 ดีขึ้น 1 อันดับ จากปี 2561 รองลงมาคือปัจจัยด้านความรู้ด้านดิจิทัล (Knowledge) อยู่ในอันดับที่ 43 ซึ่งดีขึ้น 1 อันดับจากปี 2561 เช่นกันและปัจจัยด้านความพร้อมในอนาคต (Future readiness)อยู่ในอันดับที่ 50 ลดลง 1 อันดับจากปี2561
ในงานสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2019 : Rethinking the Future ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วนในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเสนอแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญ
คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน TMA Center for Competitiveness ประธานคณะทำงานกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ/แปรรูปอาหาร/ไบโออีโคโนมี คณะประสานการลงทุนในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ใช้ข้อมูลจาก BCG ซึ่งระบุปัจจัยสำคัญไว้ทั้งหมด 5 ด้าน
สิ่งที่ประเทศไทยต้องโฟกัสต่อจากนี้ คือ 1. ส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทางด้านภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 2. การพัฒนาคน โดยเฉพาะทักษะใหม่ๆ และการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน 3. การสร้างการเชื่อมต่ออัจฉริยะ คือการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์
IMD ชี้การลงทุนจากภาครัฐจะช่วยให้ธุรกิจเกิดการปรับตัวทางดิจิทัลได้เร็วขึ้น เมื่อธุรกิจมีการปรับตัวทางดิจิทัล ย่อมช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในภาพรวมได้
ปัญหาหลักของสตาร์ทอัพประเทศไทย คือ เรื่องของระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ “Startup Ecosystem” ยังไม่เข้มแข็งพอ
ประเทศไทยมีการพูดถึงการสร้าง 'ธุรกิจสตาร์ทอัพ' กันมาอย่างจริงจัง ได้ 3-4 ปีแล้ว ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการจะสร้างนักรบทางเศรษฐกิจรุ่นใหม่ เพื่อไปแข่งขันในตลาดโลก มาดูเคล็ดลับ ที่จะช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัพ ประสบความสำเร็จ มีอะไรบ้าง
อุตสาหกรรมที่เป็นรายใหญ่ของประเทศ คือ “อาหาร” ซึ่งเป็นโอกาสของประเทศ ด้วยเกษตรกรรมที่อยู่คู่กับอาหารมาอย่างยาวนาน เพราะเราเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารส่งออกรายใหญ่ ทั้งสินค้าการเกษตร ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ รวมไปถึงสินค้าอาหารแปรรูปต่างๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry) จึงเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ในปี 2562 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 63 ประเทศ โดยเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปี 2561 ถึง 5 อันดับ ซึ่งจากผลการจัดอันดับที่แบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ปรากฎว่าผลการจัดอันดับดีขึ้นทุกด้านยกเว้นประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โดยด้านสภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 10 มาเป็นอันดับที่ 8 ส่วนด้านประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับขึ้นเป็นอันดับที่ 20 จาก 22 และด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีอันดับดีขึ้นเป็นอันดับที่ 45 จากอันดับที่ 48 ในปี 2561 ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) เป็นปัจจัยเดียวในการจัดอันดับปีนี้ที่ ลดลง 2 อันดับจากอันดับที่ 25 มาอยู่ที่ 27
ชีวิตของคนทำงานในยุคปัจจุบันนั้นไม่มีทางรู้เลยว่างานที่ตัวเองเคยทำอยู่จะถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ หุ่นยนต์เมื่อไหร่ อย่างไรก็ตามในอีกมุม การเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็มีการสร้างตำแหน่งงานใหม่เช่นเดียวกัน นั่นก็หมายความว่า หากใครที่สามารถปรับตัวได้ และเสริมทักษะความสามารถ ให้สอดรับกับเทคโนโลยีและงานสมัยใหม่ โอกาสที่จะถูกเขี่ยพ้นจากตลาดงานก็เป็นไปได้ยากด้วยเช่นกัน
"คน" หรือ "แรงงาน" เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ การจะพัฒนาประเทศไปข้างหน้าให้ประสบความสำเร็จ "แรงงาน" ถือเป็นตัวชี้วัดหลักที่จะบอกได้ว่า ประเทศจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
จะทำอย่างไรถึงจะเร่งสปีดการพัฒนาเพื่อทำอันดับขึ้นไปให้สูงขึ้น เพราะต้องยอมรับว่า ทุกประเทศหรือเขตเศรษฐกิจ ก็มีเป้าหมายที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องของทรัพยากรบุคคล หรือ แรงงาน ที่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ
กรุงเทพฯ – สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยผลการจัดอันดับ World Talent Ranking จาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2561 ซึ่งทำการจัดอันดับความสามารถของ 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ด้านการพัฒนา ดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent) โดยเขตเศรษฐกิจที่อยู่ในอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกอยู่ในยุโรปถึง 9 อันดับ ประกอบด้วยเขตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศนอร์ดิกถึง 4 เขตเศรษฐกิจ คือ เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และสวีเดน และเขตเศรษฐกิจนอกยุโรปมีเพียงแคนาดาเท่านั้น
ในปัจจุบันหลายเมืองทั่วโลก พยายามที่จะยกระดับให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ ซึ่งความยาก-ง่ายในการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับขนาดของเมืองและจำนวนประชากรที่อาศัย เพราะหัวใจที่จะพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้นอยู่กับการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลและตอบสนองต่อข้อมูลที่ได้มานั้นอย่างไร
ในปัจจุบัน เรื่องของ เมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ ถือเป็นเมกะเทรนด์ ที่กำลังเป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบเศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเป็นอย่างมาก
โดยไอเดียหลักของเมืองอัจฉริยะ จะประกอบไปด้วยหลักการ 6 Smart ได้แก่ 1. Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ 2. Smart Mobility การเคลื่อนย้ายอัจฉริยะ ได้แก่ การคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 3. Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ 4. Smart Governance การจัดการภาครัฐอัจฉริยะ 5. Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะ และ 6. Smart People ประชาชนอัจฉริยะ
การจะประยุกต์การใช้แนวคิดทางเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้ หลักการสำคัญที่เอกชน จะต้องเปลี่ยนแปลงก็คือ การเปลี่ยนทัศนคติ ที่ต้องมองเห็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อม และการลดการสร้างของเสียให้มากทึ่สุด หากคิดถึงเรื่องนี้ กระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียนจะเกิดขึ้นเอง โดยธรรมชาติ ซึ่งเมื่อปรับเปลี่ยนแล้วระบบนี้จะช่วยทั้งลดต้นทุนและสร้างโอกาสเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป
“เศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ “Circular Economy” ซึ่งหัวใจของทฤษฏีนี้ก็คือ การให้คุณค่ากับวัตถุดิบให้มากที่สุด โดยคำนึงการสร้างผลิตภัณฑ์ที่รักษาและเก็บไว้ในนาน และมีการสร้างของเสียหรือมลพิษที่ต่ำที่สุด
ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับขีดความสามารถในการแข่งขันแบบแยกกันไม่ออก มองง่ายๆจะเห็นได้จากลุ่มประเทศที่ติด 1 - 10 ของดัชนี EPI ก็มักจะเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันลำดับต้นๆด้วยเช่นกัน ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่าประเทศที่มีนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี มักจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตของประเทศในระยะยาวและมีระบบการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ยั่งยืน
การที่ทรัพยากรบุคคลในประเทศมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส ถือเป็นอีก 1 ตัวชี้วัดสำคัญต่อการวัดขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพราะการที่คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตดี ย่อมหมายถึงการได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดี หรือ ได้รับบริการสาธารณสุขที่ถูกออกแบบไว้เป็นอย่างดี ดังนั้นทางสถาบันจัดอันดับ IMD หรือ International Institute for Management Development จึงให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลทางด้านสาธารณสุขของแต่ละประเทศ เพราะถือเป็นปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และส่งผลต่ออันดับในการแข่งขันโดยรวมด้วย
ในส่วนประเทศไทยนั้น หากทำการประเมินลงลึกพบว่า ประเทศของเรายังมีจุดแข็งอยู่หลายข้อ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดขึ้นมาได้อีกมาก โดยเฉพาะทางด้าน เทคโนโลยี (Technology) ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของเรา แต่ในส่วนที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมในหมวดนี้ ก็คือ การเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อจำนวนประชากรที่จะต้องพยายามขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมไปถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีน้อยเกินไป จะเห็นได้ว่า ผลการจัดอันดับที่ออกมา สะท้อนได้ดีเลยว่า จุดไหนเป็น จุดอ่อน จุดไหน เป็นจุดแข็ง ซึ่งช่วยให้ เรารู้ว่า จะส่งเสริมอย่างไร และแก้ไขอย่างไร นับเป็น การส่งสัญญาณให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ – เอกชน – ประชาชน จะต้องร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันยกระดับการพัฒนาของประเทศ
"ข้อมูล" จึงเปรียบเสมือน "พลัง" ซึ่งสามารถขับเคลื่อน และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในทุกระดับชั้น เริ่มต้นตั้งแต่หน่วยที่เล็กสุด คือ ตัวเรา , ครอบครัว , การทำงาน , สภาพแวดล้อม หรือ รวมไปถึงการพัฒนาประเทศ ดังนั้นผู้ที่ครอบครองข้อมูลจึงสามารถชี้นำทิศทางของสังคม หรือแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้อย่างมหาศาล
สถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้เผยแพร่รายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2018 ซึ่งเป็นการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 63 ประเทศทั่วโลก โดยจากผลการจัดอันดับดังกล่าว พบว่าในปีนี้สหรัฐอเมริกาขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ตามด้วยฮ่องกง สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์และสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นมากที่สุดได้แก่ ประเทศออสเตรีย ที่มีอันดับสูงขึ้นถึง 7 อันดับจากอันดับที่ 25 ในปีที่แล้วเลื่อนมาอยู่ในอันดับที่ 18 ในปีนี้ รองลงมาคือ ประเทศโปรตุเกสและประเทศสโลเวเนีย ที่เลื่อนขึ้นมาถึง 6 อันดับ โดยมีอันดับที่ 33 และ 37 ตามลำดับ
การแข่งขันยุค 4.0 ที่ "ดิจิทัล" มีบทบาทต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ความรวดเร็วและความสะดวกสบาย เป็นแต้มต่อในการทำธุรกิจ ส่งผลให้ทุกองค์กรจำต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับเกมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
เพราะในโลกยุคดิจิทัล ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่า 'บริษัทยักษ์ใหญ่' ที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต จะเป็นผู้คว้าชัยในเกมการแข่งขันในยุคปัจจุบัน
ในเวลานี้เรื่องราวของดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) มาแรงควบคู่กับเรื่องของอุตสาหกรรม 4.0 ที่รัฐบาลได้พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจัง หากเรายอมรับกันแล้วว่ามันคือ หนทางที่ต้องเดินต่อไปในยุคนี้ ก็คงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจใด จะมีความแตกต่างแค่เพียงความเร็ว – ช้าของการถูกผลกระทบ และกลายเป็นความจำเป็นที่ต้องปรับตัว
ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันลำดับต้นๆของโลก นอกจากมีการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพสูงแล้ว ภาคเอกชนก็ล้วนมีส่วนสำคัญ ที่ช่วยเกื้อหนุนให้การจัดอันดับดีขึ้น ซึ่งปัจจัยหลักก็มาจากการให้ความสำคัญ ของเรื่องการคิดค้น วิจัยพัฒนา และการคิดต่อยอดผลิตภัณฑ์ในการทำตลาด ทำให้กลุ่มประเทศผู้นำ สามารถรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยาวนาน
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ได้ประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าจะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ให้ขึ้นมาติดอันดับ TOP20 ของโลก ในการจัดของ World Economic Forum (WEF) และสถาบัน IMD โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้มีความแข็งแกร่ง และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
Executive Forum Competitiveness 2018
ทีเอ็มเอ ร่วมมือกับ สภาพัฒน์ จัดงานสัมมนา Executive Forum Competitiveness 2018 สร้างการรับรู้และความเข้าใจถึงผลการดำเนินงานของภาครัฐบาลด้านขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในปีที่ผ่านๆ มา โดยภาครัฐบาลมองเรื่องการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
จากผลการจัดอันดับประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถ 2017 ของสวิสเซอร์แลนด์ พบว่า ประเทศไทย ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 42 จากการสำรวจทั้งหมด 63 ประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ตกลงถึง 5 อันดับ เมื่อเทียบกับปี 2016
เมื่อเจาะลึกข้อมูลลงไปจะพบว่า คะแนนของประเทศไทย ตกลงในแทบจะทุกๆด้าน ทั้งนี้การสำรวจดังกล่าว ชี้ให้เห็นจุดอ่อนหลักๆของไทย ก็คือ ปัญหาด้านบุคลากรที่มีประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจาก ระบบศึกษาของไทยที่อยู่ในอันดับเกือบท้ายสุดของการสำรวจ
ดูเหมือนว่า ในเวลานี้ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น "ภาครัฐ" หรือ "ภาคเอกชน" ต่างก็มีการกล่าวถึง "ไทยแลนด์ 4.0" โดยวาดฝันว่า อนาคตของไทยจะก้าวไปยุคประเทศเศรษฐกิจสมัยใหม่ การมองเป้าหมายนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การทำให้ถึงเป้าหมายนั้นยากกว่า เพราะปัจจัยที่ทำให้ประเทศ เข้าสู่ 4.0 ได้ ไม่ได้ทำเพียงแค่ลงทุนด้านเทคโนโลยี แล้วจะประสบความสำเร็จ แต่มันจะต้องมี “ทรัพยากรบุคคล” ที่มีความรู้ ความสามารถในการเป็นแกนขับเคลื่อนด้วย
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากอันดับการแข่งขันของประเทศที่ขยับดีขึ้นจากการมีช่วงสงบ และเกิดการปรับตัวค่อนข้างมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผลสำรวจของไอเอ็มดีระบุข้อดีของการทำธุรกิจในประเทศไทย คือ...
อุตสาหกรรมอาหาร ถือเป็น ธุรกิจที่มีความสำคัญของประเทศ เพราะในแต่ละปี ไทยส่งออกอาหาร คิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านบาท นับเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ แต่ยังไม่ดีที่สุด ดังนั้นการที่ประเทศของเราตั้งเป้าเป็น “ครัวของโลก” การส่งออกแค่วัตถุดิบคงไม่ทำให้ถึงฝั่งฝัน แต่ “การแปรรูปอาหาร” และ สร้าง “นวัตกรรมทางด้านอาหาร” น่าจะเป็นทางรอดในระยะยาวมากกว่า
การแข่งขันของธุรกิจ ในยุคปัจจุบันนั้นต่อสู้กันด้วย "นวัตกรรม" สินค้าของค่ายไหน ใช้งานง่าย สะดวก ประหยัด และตอบโจทย์การใช้ชีวิต เจ้านั้นจะเป็นผู้คว้าส่วนแบ่งการตลาด และเม็ดเงินจากลูกค้าได้มากกว่า แล้วถามว่า บริษัทขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก อยากจะมี นวัตกรรมของตัวเองบ้าง ภายใต้งบประมาณที่จำกัด จะเป็นไปได้หรือไม่ คำตอบก็คือ "เป็นไปได้"
แน่นอนการมียุทธศาสตร์พัฒนาที่ชัดเจน ช่วยยกระดับโลจิสติกส์ของไทยได้ดีขึ้น จากเดิมต้นทุนทางโลจิสติกส์ของไทย อยู่เกือบทะลุ 30% ของจีดีพี เรียกว่า ตกขอบอยู่ในระดับเดียวกับประเทศด้อยพัฒนา แต่พอมีการทำโรดแมปการพัฒนาที่ชัดเจน ทำให้ต้นทุนในส่วนนี้ของเราดีขึ้น
เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวดีเกี่ยวกับการไต่อันดับรวดเดียว 20 ตำแหน่งของประเทศไทยโดยธนาคารโลก ก่อนหน้านี้ไม่นานก็มีประกาศผลจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ ที่จัดทำโดย 2 สถาบันหลักอีกสองแห่งในโลกคือ IMD และสภาเศรษฐกิจโลก
การที่สถาบันหลักทั้งสามแห่งของโลก พร้อมใจกันปรับเพิ่มอันดับให้กับประเทศไทยในปีนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่ๆ โดยเฉพาะในยุคนี้ ยามนี้ ที่การแข่งขันเวทีระหว่างประเทศมีความรุนแรงประหนึ่งน่านน้ำสีเลือด
เชื่อได้ว่าในยุคนี้ คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า “ประเทศไทย 4.0” หรือ “อุตสาหกรรม 4.0” สิ่งหนึ่งที่ถูกระบุว่าเป็นหนทางที่จะนำพาประเทศไทยสู่ยุค 4.0 คือการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 เป็นสิ่งที่ควรศึกษา และทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าอุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร และจะเป็นทางเลือกหรือทางที่ไม่อาจเลี่ยง
Bold vision and clear goals are required to take a country from one stage of development to the next. Fortunately, Thailand 4.0 looks to be the “policy vision” to lift the country out of the middle-income trap and deliver Thailand over the threshold of a high-income, low inequality nation.
Innovation is the key force driving Thailand 4.0 and elevating the quality of life of all Thais is its ultimate goal.
จีน-มจพ.จับมือผลิตวิศวกรรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง
มหาวิทยาลัยจงหนาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติของจีน ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดหลักสูตรผลิตวิศวกรระบบราง เตรียมพร้อมบุคลากรรองรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ธนาคารโลก เผยแพร่รายงาน Doing Business ประจำปี 2018 ซึ่งเป็นการศึกษาความสะดวกในการทำธุรกิจ หรือ Ease of Doing Business จาก 190 ประเทศทั่วโลก
โดยในปีนี้ อันดับของไทยดีขึ้น 20 อันดับ โดยเลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 46 ในปีที่ผ่านมา มาเป็นอันดับที่ 26 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 3
Professor Arturo Director IMD World Competitiveness Center แสดงความเห็นว่าท่านเชื่อว่าไทยสามารถพัฒนาให้เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในอันดับที่ 20 ในเวลาไม่นานเกินไป ถ้ามีสามสิ่งนี้คือ ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ความเป็นผู้นำ และความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน การวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และ อุปสรรค (Threat)
ตามที่ World Economic Forum ได้มีการเผยแพร่รายงาน Global Competitiveness Report (GCR) 2017-2018 แสดงให้เห็นว่า จากการจัดอันดับ 137 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 32 โดยในปีนี้ไทยมีคะแนน 4.72 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2016 ที่ได้มีการจัดอันดับ 138 ประเทศทั่วโลก พบว่า ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้น 2 อันดับและคะแนนในการประเมินดีขึ้นจากปีก่อนหน้า ซึ่งในปี 2016 นั้นประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 34 โดยมีคะแนน 4.64 คะแนน
ในภาพกว้างต้องบอกว่าเศรษฐกิจมันไม่ดีทั้งโลก สาเหตุหนึ่งคือการปั๊มเงินเข้าสู่ระบบของธนาคารกลางทั่วโลก นำโดยธนาคารกลางของสหรัฐที่เรารู้จักกันดีในนามของมาตรการ QE (quantitative easing) นั่นเอง
“เมื่อโลกปัจจุบันมีความเชื่อมโยงมากขึ้น สินค้าและบริการไหลไปได้อย่างเสรี ไทยอยู่นิ่งไม่ได้ การที่โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีสิ่งที่เรียกว่า “disruptive technology” เช่น FinTech, Blockchain ผู้ที่ไม่ปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงก็จะสูญพันธ์ หรือไม่เติบโต”
เตรียมรับยุคหุ่นยนต์และปัญญาเสมือน (AI)
เมื่อเดือนที่ผ่านมามีรายงานข่าวว่าเฟสบุ๊คจำเป็นต้องตัดสินใจยุติปฏิบัติการทดลองระบบ “ปัญญาเสมือน” หรือ artificial intelligence เมื่อโรบ็อตสองตัวเกิดทะลึ่งคิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นมาคุยกันเอง ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้
Digital transformation ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคาถายอดฮิตในชั่วโมงนี้ การพลิกผันเปลี่ยนแปลงของธุรกิจจะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วรุนแรงในโลกยุค 4.0 นี้!!
ผู้ที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ในยามนี้จึงต้องเป็นผู้ที่เก่งในโลกของความแปรปรวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน ไม่ชัดเจน นั่นเอง
ศาสตราจารย์ ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ เคยกล่าวไว้ว่า ความสามารถในการแข่งขันไม่ได้หมายถึงการที่ประเทศมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศอื่น หรือสามารถขายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าเพราะมีการกดค่าแรง หรือลดค่าเงิน แต่มาจากความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ที่จะนำมาซึ่งความมั่งคั่งของประเทศ และประชาชนในชาติ
การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย
ปัจจุบัน เรามักจะได้ยินการกล่าวถึง“การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” ว่าเป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานและโครงการโดยหน่วยงานต่างๆ
ขณะนี้การดำเนินยุทธศาสตร์ประเทศเริ่มเป็นระบบและมีความชัดเจนขึ้น ซึ่งเมื่อมีความชัดเจนจะทำให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ มองเห็นถึงบทบาทของตนเองที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้น
เป็นที่ชื่นมื่นกันไป เมื่อผลการจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศฉบับปีล่าสุด ที่เผยแพร่โดย สถาบัน IMD World Competitiveness Center พบว่าประเทศไทยมีอันดับที่ดีขึ้น จากอันดับที่ 28 ในปี 2559 เป็นอันดับที่ 27 ในปี 2560
คำถาม คือ อันดับดีขึ้นแล้วยังไง?
การจัดอันดับขีดความสามารถฯ เป็นเสมือนเครื่องมือวัดสมรรถนะ จุดอ่อน จุดแข็ง ว่าประเทศเรามีส่วนที่เป็นความท้าทาย ต้องปรับปรุงตรงไหน เพื่อที่จะทำให้แข่งขันกับนานาชาติได้ดีขึ้น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนจากทั่วโลกให้ความสำคัญและสนใจไม่น้อยไปกว่าตัวเลขจีดีพี
IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 63 ประเทศทั่วโลก พบว่าในปีนี้ ฮ่องกงยังคงเป็นอันดับ 1 และสวิตเซอร์แลนด์อยู่ในอันดับที่ 2 สิงคโปร์เลื่อนขึ้นมา 1 อันดับโดยอยู่ในอันดับ 3 ด้านประเทศไทยมีผลที่ดีขึ้นทั้งโดยคะแนนและอันดับ โดยมีคะแนนรวมในปีนี้เท่ากับ 80.095 เปรียบเทียบกับ 74.681 ในปี 2559 และมีอันดับที่ดีขึ้น 1 อันดับ โดยเลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 28 ในปี 2559 เป็นอันดับที่ 27 ในปี 2560
ความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของไทยในสายตาธนาคารโลก
ในยุคที่โลกธุรกิจการค้าเชื่อมเป็นแผ่นเดียว ผู้ลงทุนธุรกิจมีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกสถานที่ตั้งจากที่ใดในโลกก็ได้ ดังนั้น การพัฒนาปรับปรุงใดๆ ที่เกิดขึ้น จะมุ่งหวังเพียงแค่ทำดีขึ้นไม่ได้ แต่ต้องดูด้วยว่าประเทศอื่นในโลกได้พัฒนาไปมากน้อยแค่ไหน และเราอยู่จุดใดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก
Nurturing the Innovative Food Entrepreneur
การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกิจการในยุคสมัยนี้ จึงเป็นเรื่องดีที่เราจะสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่นที่ได้ลองปฏิบัติมาแล้ว ทั้งส่วนที่ล้มเหลวและประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญให้เมืองนวัตกรรมอาหารของไทยเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง
“ขยันผิดที่ สิบปีก็ไม่รวย” ถือเป็นคำกล่าวยอดฮิต และเป็นเรื่องจริง ทั้งสำหรับตัวบุคคล หรือแม้กระทั่งสำหรับองค์กร และสำหรับ “ประเทศ”
IMD World Talent Report 2016 (Thailand)
IMD World Talent Report 2016 เป็นรายงานที่สถาบัน International Institute for Management Development (IMD) จัดอันดับความสามารถของประเทศต่างๆ 61 ประเทศในการสร้างบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็น 61 ประเทศเดียวกับในรายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2016
ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประจำปี 2559 โดย IMD World Competitiveness Center
ผลการจัดอันดับโดยรวม เมื่อวันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2559 สถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้เผยแพร่รายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2016
“ข้อมูล” ผู้ชี้ขาดชัยชนะ ในเกมธุรกิจยุคดิจิทัล
"ข้อมูล" จึงเปรียบเสมือน "พลัง" ซึ่งสามารถขับเคลื่อน และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในทุกระดับชั้น เริ่มต้นตั้งแต่หน่วยที่เล็กสุด คือ ตัวเรา , ครอบครัว , การทำงาน , สภาพแวดล้อม หรือ รวมไปถึงการพัฒนาประเทศ ดังนั้นผู้ที่ครอบครองข้อมูลจึงสามารถชี้นำทิศทางของสังคม หรือแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้อย่างมหาศาล