ฝ่าวิกฤตธุรกิจในสถานการณ์อันไม่แน่นอน
(Leading in Turbulent Times)
การระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม สูงถึงเกือบ 91 ล้านคน ในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก[1] สถานการณ์การระบาดครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามอันใหญ่หลวงของมนุษยชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก และยังคงมีผลสืบเนื่องต่อมาในปี 2564 จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกัน ในแง่ของความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน
เช่นเดียวกันกับประเทศไทย ที่ภาคธุรกิจและประชาชนจำนวนมากยังไม่สามารถพลิกฟื้นจากสถานการณ์ภาวะซมพิษโควิด 19 ที่ต่อเนื่องจากผลของการระบาดรุนแรงและการตัดสินใช้มาตรการ ล็อกดาวน์เศรษฐกิจทั้งประเทศ เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของระลอกเก่า ในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา
วันนี้ ประชาชน และภาคธุรกิจไทย กลับต้องมาเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดที่รุนแรงมากขึ้นของโควิด 19 ระลอกใหม่ และแม้ว่าในช่วงปลายปีก่อนจะมีข่าวดีถึงการฟื้นตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจไทย โดยมีการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจปี 2563 ให้ติดลบน้อยลงจากเดิม หรือดีขึ้นประมาณ 2% ตัวเลขคนว่างงาน และคนที่ทำงานน้อยกว่าที่จะดำรงชีพได้ ลดลงจากกว่า 5 ล้านคน เหลือ 2.2 ล้านคนในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่เหตุการณ์พลิกผันในเวลาไม่ถึงเดือน ทำให้ขณะนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมของไทยมากกว่า 10,000 คน รัฐบาลมีการประกาศใช้มาตรการซอฟต์ล็อกดาวน์ หรือการจำกัดกิจกรรมในบางพื้นที่แทนการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ แต่จำนวนการแพร่ระบาดที่ยังเป็นตัวเลข 3 หลักในแต่ละวันยังไม่สามารถทำให้เกิดความไว้วางใจได้[2]
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การระบาดของโควิดระลอกใหม่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมไทยสูญเสียถึง 45,000 ล้านบาท ในกรอบระยะเวลา 1 เดือน จากความสูญเสียที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล ที่อาจมีมูลค่ารวมกันราว 13,000 ล้านบาท เพราะการชะลอการบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้นในประเทศ รวมถึงการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ในระยะถัดไป ก็อาจจะได้รับผลกระทบบ้างโดยเฉพาะในด้านขั้นตอนการตรวจสอบและกระบวนการต่าง ๆ ความสูญเสียจากการที่ประชาชนชะลอการทำกิจกรรมในช่วงเฉลิมฉลองปีใหม่ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท ได้แก่ การเลี้ยงสังสรรค์ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การลดความถี่ในการใช้จ่ายที่ร้านค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งไม่รวมการเดินทางท่องเที่ยว โดยประชาชนอาจมีการจัดหาหรือสำรองสินค้าจำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ อาหารพร้อมปรุง/พร้อมทาน เป็นต้น เพิ่มเติมจากช่วงก่อนหน้านี้บ้าง รวมทั้งคงจะหันไปทำกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นแทนการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน ความสูญเสียจากการชะลอการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ คิดเป็น เม็ดเงินที่หายไปประมาณ 17,000 ล้านบาท หรือราว 30% ของรายได้ท่องเที่ยวในช่วงเวลา 1 เดือน ภายใต้กรณีที่ยังไม่ได้มีประกาศห้ามการเดินทางข้ามจังหวัด
ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 รอบใหม่ในประเทศไทยนี้ ยังอาจสร้างผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้อย่างชัดเจนด้วย อาทิ ผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการที่ค้าขายสินค้าอื่น ๆ ในตลาด จากการที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการสัญจร โดยเฉพาะการสัญจรไปในพื้นที่ที่มีการระบาดหรือพบผู้ติดเชื้อ เป็นต้น[3]
ความต่อเนื่องและยาวนานจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด 19 ทั้งระลอกเก่าและระลอกใหม่ในช่วงเวลานี้ ทำให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ ภายใต้สถานการณ์อันไม่แน่นอน
ซีรีส์ชุด “ฝ่าวิกฤตธุรกิจในสถานการณ์อันไม่แน่นอน (Leading in Turbulent Times)” ที่ TMA ได้ทำการศึกษารวบรวมมานำเสนอครั้งนี้ จึงประกอบด้วย 10 ประเด็นที่น่าสนใจจากบริษัทที่ปรึกษาและสถาบันระดับโลกที่น่าเชื่อถือหลายแห่ง รวมทั้งข้อมูลสถานการณ์ในประเทศไทย ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้ ได้แก่
บทความในซีรีส์ฝ่าวิกฤตธุรกิจในสถานการณ์อันไม่แน่นอน ทั้ง 10 ประเด็นข้างต้น จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับภาคธุรกิจและประชาชนไทย ในการดำเนินธุรกิจและดำเนินชีวิตให้รอดพ้นและฝ่าฟันวิกฤตที่นำมาซึ่งความไม่แน่นอนครั้งนี้ไปได้ด้วยดี ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า “ภาคธุรกิจและประชาชนไทยควรเตรียมพร้อมและปรับตัวอย่างไร เพื่อสามารถฝ่าวิกฤตไปได้อย่างยั่งยืนในสถานการณ์อันไม่แน่นอนนี้?”
[1] Wordometers (Retrieved, 11 January 2021) https://www.worldometers.info/coronavirus/?utm_campaign=homeAdvegas1?
[2] ไทยรัฐออนไลน์; ใช้บทเรียนโควิดรอบแรกกู้วิฤติ "ระลอกใหม่" กระทบหนักคนไทยต้องร่วมใจสู้ , 11 มกราคม 2564 (https://www.thairath.co.th/news/business/2009756)
[3] ไทยรัฐออนไลน์; คาดโควิดระลอกใหม่ ทำเศรษฐกิจไทยสูญเสีย 4.5 หมื่นล้านในกรอบเวลา 1 เดือน , 22 ธันวาคม 2563 (https://www.thairath.co.th/news/business/1999632)
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในอนาคต จำนวนประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2500 อาจจะมีจำนวนประชากรบนโลกนี้ถึงกว่า 1.6 หมื่นล้านคน และยังมีแนวโน้มว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มสูงขึ้นอีกถึง 20 ปี สวนทางกับปริมาณทรัพยากรที่ลดลง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่เป็นดั่งนาฬิกาปลุกให้ทั้งตัวผู้บริโภค บริษัท รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ตื่นตัวในแง่ของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกนี้ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด
ภาพรวมระดับโลกด้านความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ตอกย้ำให้เห็นว่า การปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นความจำเป็นที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวและเติบโตต่อไปได้ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
การระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม สูงถึงเกือบ 91 ล้านคน ในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก สถานการณ์การระบาดครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามอันใหญ่หลวงของมนุษยชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก และยังคงมีผลสืบเนื่องต่อมาในปี 2564 จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกัน ในแง่ของความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน