IMD World Talent Report 2016 (Thailand)
IMD World Talent Report 2016 เป็นรายงานที่สถาบัน International Institute for Management Development (IMD) จัดอันดับความสามารถของประเทศต่างๆ 61 ประเทศในการสร้างบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็น 61 ประเทศเดียวกับในรายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2016
ในการจัดอันดับในรายงาน IMD World Talent Report นั้น สถาบัน IMD ใช้ตัวชี้วัดทั้งหมด 30 ตัวชี้วัดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1.ด้านการลงทุนและการพัฒนา (Investment and Development) มี 8 ตัวชี้วัด 2.การดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ (Appeal) มี 10 ตัวชี้วัด และ 3.ความพร้อมด้านบุคลากร (Readiness) มี 12 ตัวชี้วัด และในปี 2016 นี้ เขตเศรษฐกิจที่มีคะแนนสูงสุด 10 อันดับได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก เบลเยี่ยม สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ออสเตรีย ลัคเซมเบิร์ก และฮ่องกง โดยมีถึง 9 ประเทศที่มาจากกลุ่มสหภาพยุโรป มีเพียงฮ่องกงเพียงเขตเศรษฐกิจเดียวที่มาจากกลุ่มเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค
สำหรับประเทศไทยในปี 2016 นั้นได้คะแนนเป็นอันดับที่ 37 ตกลงมา 3 อันดับจากปี 2015 ที่ได้อันดับที่ 34 และหากเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอีก 4 ประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) แล้ว ประเทศไทยมีคะแนนเป็นอันดับที่ 3 รองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย สอดคล้องกับอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในรายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2016 โดยกลุ่มปัจจัยที่ประเทศไทยทำคะแนนได้สูงที่สุดคือด้านการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งประเทศไทยได้คะแนน 64.9/100 อยู่ในอันดับที่ 24 (ดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ได้ 54.5 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 25) และเป็นที่น่าสนใจว่าปัจจัยที่ประเทศได้คะแนนและอันดับดีที่สุดในปีนี้ต่างจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปีที่ผ่านมานั้น ประเทศได้คะแนนสูงที่สุดในด้านการลงทุนและการพัฒนาที่ได้ 67.8 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 19 แต่ในปีนี้กลับมีเพียง 56.2 คะแนนและได้อันดับที่ 42 ซึ่งประเทศจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตครูให้มากขึ้นเพื่อปรับปรุงอัตราจำนวนนักเรียนต่อครูในน้อยลง อย่างไรก็ตาม ด้านความพร้อมด้านบุคลากรเป็นสิ่งที่ประเทศต้องปรับปรุงพัฒนามากที่สุดเนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีคะแนน (46.7 คะแนน) และอันดับน้อยที่สุด (อันดับที่ 49) ติดต่อกันมาแล้ว 2 ปีและมีคะแนนน้อยที่สุดใน 5 ประเทศอาเซียน โดยในกลุ่มปัจจัยนี้ ประเทศจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนพร้อมทักษะด้านภาษาเป็นสำคัญ
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า คำว่า Agility ที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้งในยุคปัจจุบันนี้ อันที่จริงแล้ว หมายถึงอะไร ความเข้าใจที่คุณมีต่อ Agility นั้น ถูกต้องหรือไม่ และคุณจะสามารถนำ Agility มาใช้ในองค์กรของคุณเพื่อบริหารจัดการความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ศาสตราจารย์ Stéphane J. G. Girod ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และนวัตกรรมองค์กร และศาสตราจารย์ Goutam Challagalla ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และการตลาด จากสถาบัน IMD ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Agility ผ่านบทความนี้ว่า เหตุใดคำว่า “Agility” ถึงไม่ได้เป็นเพียงวลียอดนิยมเท่านั้น แต่จัดเป็นส่วนประกอบสำคัญในกลยุทธ์ขององค์กร และคุณจะให้นิยามคำว่า “Agility” ในบริบทของธุรกิจได้อย่างไร
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในอนาคต จำนวนประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2500 อาจจะมีจำนวนประชากรบนโลกนี้ถึงกว่า 1.6 หมื่นล้านคน และยังมีแนวโน้มว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มสูงขึ้นอีกถึง 20 ปี สวนทางกับปริมาณทรัพยากรที่ลดลง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่เป็นดั่งนาฬิกาปลุกให้ทั้งตัวผู้บริโภค บริษัท รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ตื่นตัวในแง่ของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกนี้ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด
ภาพรวมระดับโลกด้านความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ตอกย้ำให้เห็นว่า การปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นความจำเป็นที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวและเติบโตต่อไปได้ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน