เป็นที่ทราบกันดีว่า ในอนาคต จำนวนประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2500 อาจจะมีจำนวนประชากรบนโลกนี้ถึงกว่า 1.6 หมื่นล้านคน และยังมีแนวโน้มว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มสูงขึ้นอีกถึง 20 ปี สวนทางกับปริมาณทรัพยากรที่ลดลง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่เป็นดั่งนาฬิกาปลุกให้ทั้งตัวผู้บริโภค บริษัท รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ตื่นตัวในแง่ของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกนี้ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด
ภาพรวมระดับโลกด้านความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ตอกย้ำให้เห็นว่า การปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นความจำเป็นที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวและเติบโตต่อไปได้ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
การระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม สูงถึงเกือบ 91 ล้านคน ในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก สถานการณ์การระบาดครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามอันใหญ่หลวงของมนุษยชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก และยังคงมีผลสืบเนื่องต่อมาในปี 2564 จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกัน ในแง่ของความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีนักธุรกิจใจบุญมากมายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ย้อนไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อาทิ จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ นักธุรกิจชาวอเมริกันเจ้าของกิจการน้ำมันผู้ร่ำรวย และ เฮนรี ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ มาจนถึงผู้นำธุรกิจในยุคปัจจุบันอย่างบิลและเมลินดา เกตส์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสำหรับช่วยเหลือคนในประเทศกำลังพัฒนา และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีระดับโลก ราชานักลงทุนและเจ้าของบริษัท Berkshire Hathaway
กล่าวได้ว่าสุขภาพนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบร่างสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การดูแลสุขภาพได้รับการพัฒนาผ่านการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการปรับโครงสร้างบริการด้านสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค แม้ว่าแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อการมีสุขภาพที่ยั่งยืนจะเพิ่มขึ้น แต่เราสามารถคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจสุขภาพระดับโลกที่แข็งแกร่งสิบปีนับจากนี้ได้ โดยเป้าหมายการเป็นเศรษฐกิจด้านสุขภาพระดับโลกในปี พ.ศ. 2569 ไม่เพียงเป็นการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพสำหรับคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่ในระบบเศรษฐกิจนี้ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมจะถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของสุขภาพ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาสุขภาพสำหรับคนจำนวนมากเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ยังถือเป็นการลงทุนอีกด้วย
COVID-19 คือปัญหาระยะสั้น แต่ “ภาวะโลกร้อน” เป็นปัญหาระยะยาว
“Sustainability Forum 2000 : Creating a Resilient City” ที่จัดโดย TMA ความรู้และความเห็นในแง่มุมต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลก
รวมการแลกเปลี่ยนทรรศนะ ยกระดับความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันด้านต่าง ๆ ทั้งภาคเศรษฐกิจ บริการ การท่องเที่ยว ดิจิทัล จากผู้นำทางความคิดทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักวิชาการทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ
หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 จะเห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้บริโภคไปจนถึงวิธีคิด และหากมองในมิติของเศรษฐกิจโลกจะพบว่า ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน ซึ่งแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนั้นก็มาจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะทำความเข้าใจความเป็นไปในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยงานวิจัยจากบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลกอย่าง McKinsey ได้เผยถึงแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภครวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือผ่านการตั้งคำถามที่จะมีผลต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจในอนาคต
การระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงระบบ Supply chain ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อน และเป็นเหตุให้เราต้องกลับมาทบทวนสิ่งที่ดำเนินการกันอยู่อีกครั้งหนึ่ง
1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 กลายเป็นวันแรงงานสากลที่โลกต้องจดจำ เพราะเป็นวันแรงงานในช่วงที่โรคระบาดกำลังลุกลามทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างกว้างขวาง โดย International Labour Organization (ILO) ได้คาดการณ์ว่าประชากรในวัยแรงงานเกือบ 1.5 พันล้านคน ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียช่องทางทำมาหากิน
วิกฤตการณ์โควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับผู้คนและโลกใบนี้ ซึ่งการรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด-19 และสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้นั้น ถือเป็นการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของโลกเลยก็ว่าได้ ภาคธุรกิจจึงควรมีการวางแผนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและวิถีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดย McKinsey ได้นำเสนอ 7 องค์ประกอบที่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างวิถีใหม่ (Next normal) และผู้นำธุรกิจควรพิจารณา ดังนี้
จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมากจากวิกฤตนี้ Deloitte และ Salesforce ได้ร่วมกันระดมความคิดของผู้เชี่ยวชาญเพื่อคาดการณ์ผลกระทบที่เป็นไปได้ทั้งต่อสังคมและภาคธุรกิจ ว่าหลังวิกฤตผ่านไปจะเป็นอย่างไร และควรเตรียมพร้อมอะไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ในโลกใบใหม่นี้ ในรูปแบบความเป็นไปได้ (Scenario) ต่าง ๆ
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ในระยะแรกเป็นเพียงประเด็นด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้ขยายวงกว้างและลุกลาม จนส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก (Global Perspective) ระดับองค์กร (Business Perspective) และการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม (Individual Perspective) ตามวิถีใหม่ (New Normal)
ในงานสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2019 : Rethinking the Future ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วนในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเสนอแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญ
คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน TMA Center for Competitiveness ประธานคณะทำงานกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ/แปรรูปอาหาร/ไบโออีโคโนมี คณะประสานการลงทุนในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ใช้ข้อมูลจาก BCG ซึ่งระบุปัจจัยสำคัญไว้ทั้งหมด 5 ด้าน
สิ่งที่ประเทศไทยต้องโฟกัสต่อจากนี้ คือ 1. ส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทางด้านภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 2. การพัฒนาคน โดยเฉพาะทักษะใหม่ๆ และการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน 3. การสร้างการเชื่อมต่ออัจฉริยะ คือการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์
IMD ชี้การลงทุนจากภาครัฐจะช่วยให้ธุรกิจเกิดการปรับตัวทางดิจิทัลได้เร็วขึ้น เมื่อธุรกิจมีการปรับตัวทางดิจิทัล ย่อมช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในภาพรวมได้
ปัญหาหลักของสตาร์ทอัพประเทศไทย คือ เรื่องของระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ “Startup Ecosystem” ยังไม่เข้มแข็งพอ
ประเทศไทยมีการพูดถึงการสร้าง 'ธุรกิจสตาร์ทอัพ' กันมาอย่างจริงจัง ได้ 3-4 ปีแล้ว ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการจะสร้างนักรบทางเศรษฐกิจรุ่นใหม่ เพื่อไปแข่งขันในตลาดโลก มาดูเคล็ดลับ ที่จะช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัพ ประสบความสำเร็จ มีอะไรบ้าง
การจะประยุกต์การใช้แนวคิดทางเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้ หลักการสำคัญที่เอกชน จะต้องเปลี่ยนแปลงก็คือ การเปลี่ยนทัศนคติ ที่ต้องมองเห็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อม และการลดการสร้างของเสียให้มากทึ่สุด หากคิดถึงเรื่องนี้ กระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียนจะเกิดขึ้นเอง โดยธรรมชาติ ซึ่งเมื่อปรับเปลี่ยนแล้วระบบนี้จะช่วยทั้งลดต้นทุนและสร้างโอกาสเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป
“เศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ “Circular Economy” ซึ่งหัวใจของทฤษฏีนี้ก็คือ การให้คุณค่ากับวัตถุดิบให้มากที่สุด โดยคำนึงการสร้างผลิตภัณฑ์ที่รักษาและเก็บไว้ในนาน และมีการสร้างของเสียหรือมลพิษที่ต่ำที่สุด
ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับขีดความสามารถในการแข่งขันแบบแยกกันไม่ออก มองง่ายๆจะเห็นได้จากลุ่มประเทศที่ติด 1 - 10 ของดัชนี EPI ก็มักจะเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันลำดับต้นๆด้วยเช่นกัน ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่าประเทศที่มีนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี มักจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตของประเทศในระยะยาวและมีระบบการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ยั่งยืน
การที่ทรัพยากรบุคคลในประเทศมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส ถือเป็นอีก 1 ตัวชี้วัดสำคัญต่อการวัดขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพราะการที่คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตดี ย่อมหมายถึงการได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดี หรือ ได้รับบริการสาธารณสุขที่ถูกออกแบบไว้เป็นอย่างดี ดังนั้นทางสถาบันจัดอันดับ IMD หรือ International Institute for Management Development จึงให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลทางด้านสาธารณสุขของแต่ละประเทศ เพราะถือเป็นปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และส่งผลต่ออันดับในการแข่งขันโดยรวมด้วย
ในส่วนประเทศไทยนั้น หากทำการประเมินลงลึกพบว่า ประเทศของเรายังมีจุดแข็งอยู่หลายข้อ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดขึ้นมาได้อีกมาก โดยเฉพาะทางด้าน เทคโนโลยี (Technology) ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของเรา แต่ในส่วนที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมในหมวดนี้ ก็คือ การเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อจำนวนประชากรที่จะต้องพยายามขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมไปถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีน้อยเกินไป จะเห็นได้ว่า ผลการจัดอันดับที่ออกมา สะท้อนได้ดีเลยว่า จุดไหนเป็น จุดอ่อน จุดไหน เป็นจุดแข็ง ซึ่งช่วยให้ เรารู้ว่า จะส่งเสริมอย่างไร และแก้ไขอย่างไร นับเป็น การส่งสัญญาณให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ – เอกชน – ประชาชน จะต้องร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันยกระดับการพัฒนาของประเทศ
“ข้อมูล” ผู้ชี้ขาดชัยชนะ ในเกมธุรกิจยุคดิจิทัล
"ข้อมูล" จึงเปรียบเสมือน "พลัง" ซึ่งสามารถขับเคลื่อน และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในทุกระดับชั้น เริ่มต้นตั้งแต่หน่วยที่เล็กสุด คือ ตัวเรา , ครอบครัว , การทำงาน , สภาพแวดล้อม หรือ รวมไปถึงการพัฒนาประเทศ ดังนั้นผู้ที่ครอบครองข้อมูลจึงสามารถชี้นำทิศทางของสังคม หรือแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้อย่างมหาศาล
ในเวลานี้เรื่องราวของดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) มาแรงควบคู่กับเรื่องของอุตสาหกรรม 4.0 ที่รัฐบาลได้พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจัง หากเรายอมรับกันแล้วว่ามันคือ หนทางที่ต้องเดินต่อไปในยุคนี้ ก็คงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจใด จะมีความแตกต่างแค่เพียงความเร็ว – ช้าของการถูกผลกระทบ และกลายเป็นความจำเป็นที่ต้องปรับตัว
ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันลำดับต้นๆของโลก นอกจากมีการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพสูงแล้ว ภาคเอกชนก็ล้วนมีส่วนสำคัญ ที่ช่วยเกื้อหนุนให้การจัดอันดับดีขึ้น ซึ่งปัจจัยหลักก็มาจากการให้ความสำคัญ ของเรื่องการคิดค้น วิจัยพัฒนา และการคิดต่อยอดผลิตภัณฑ์ในการทำตลาด ทำให้กลุ่มประเทศผู้นำ สามารถรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยาวนาน
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ได้ประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าจะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ให้ขึ้นมาติดอันดับ TOP20 ของโลก ในการจัดของ World Economic Forum (WEF) และสถาบัน IMD โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้มีความแข็งแกร่ง และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
Executive Forum Competitiveness 2018
ทีเอ็มเอ ร่วมมือกับ สภาพัฒน์ จัดงานสัมมนา Executive Forum Competitiveness 2018 สร้างการรับรู้และความเข้าใจถึงผลการดำเนินงานของภาครัฐบาลด้านขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในปีที่ผ่านๆ มา โดยภาครัฐบาลมองเรื่องการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากอันดับการแข่งขันของประเทศที่ขยับดีขึ้นจากการมีช่วงสงบ และเกิดการปรับตัวค่อนข้างมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผลสำรวจของไอเอ็มดีระบุข้อดีของการทำธุรกิจในประเทศไทย คือ...
แน่นอนการมียุทธศาสตร์พัฒนาที่ชัดเจน ช่วยยกระดับโลจิสติกส์ของไทยได้ดีขึ้น จากเดิมต้นทุนทางโลจิสติกส์ของไทย อยู่เกือบทะลุ 30% ของจีดีพี เรียกว่า ตกขอบอยู่ในระดับเดียวกับประเทศด้อยพัฒนา แต่พอมีการทำโรดแมปการพัฒนาที่ชัดเจน ทำให้ต้นทุนในส่วนนี้ของเราดีขึ้น
เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวดีเกี่ยวกับการไต่อันดับรวดเดียว 20 ตำแหน่งของประเทศไทยโดยธนาคารโลก ก่อนหน้านี้ไม่นานก็มีประกาศผลจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ ที่จัดทำโดย 2 สถาบันหลักอีกสองแห่งในโลกคือ IMD และสภาเศรษฐกิจโลก
การที่สถาบันหลักทั้งสามแห่งของโลก พร้อมใจกันปรับเพิ่มอันดับให้กับประเทศไทยในปีนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่ๆ โดยเฉพาะในยุคนี้ ยามนี้ ที่การแข่งขันเวทีระหว่างประเทศมีความรุนแรงประหนึ่งน่านน้ำสีเลือด
Bold vision and clear goals are required to take a country from one stage of development to the next. Fortunately, Thailand 4.0 looks to be the “policy vision” to lift the country out of the middle-income trap and deliver Thailand over the threshold of a high-income, low inequality nation.
Innovation is the key force driving Thailand 4.0 and elevating the quality of life of all Thais is its ultimate goal.
จีน-มจพ.จับมือผลิตวิศวกรรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง
มหาวิทยาลัยจงหนาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติของจีน ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดหลักสูตรผลิตวิศวกรระบบราง เตรียมพร้อมบุคลากรรองรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง
Professor Arturo Director IMD World Competitiveness Center แสดงความเห็นว่าท่านเชื่อว่าไทยสามารถพัฒนาให้เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในอันดับที่ 20 ในเวลาไม่นานเกินไป ถ้ามีสามสิ่งนี้คือ ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ความเป็นผู้นำ และความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน การวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และ อุปสรรค (Threat)
“เมื่อโลกปัจจุบันมีความเชื่อมโยงมากขึ้น สินค้าและบริการไหลไปได้อย่างเสรี ไทยอยู่นิ่งไม่ได้ การที่โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีสิ่งที่เรียกว่า “disruptive technology” เช่น FinTech, Blockchain ผู้ที่ไม่ปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงก็จะสูญพันธ์ หรือไม่เติบโต”
ศาสตราจารย์ ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ เคยกล่าวไว้ว่า ความสามารถในการแข่งขันไม่ได้หมายถึงการที่ประเทศมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศอื่น หรือสามารถขายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าเพราะมีการกดค่าแรง หรือลดค่าเงิน แต่มาจากความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ที่จะนำมาซึ่งความมั่งคั่งของประเทศ และประชาชนในชาติ
การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย
ปัจจุบัน เรามักจะได้ยินการกล่าวถึง“การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” ว่าเป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานและโครงการโดยหน่วยงานต่างๆ
ขณะนี้การดำเนินยุทธศาสตร์ประเทศเริ่มเป็นระบบและมีความชัดเจนขึ้น ซึ่งเมื่อมีความชัดเจนจะทำให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ มองเห็นถึงบทบาทของตนเองที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้น
เป็นที่ชื่นมื่นกันไป เมื่อผลการจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศฉบับปีล่าสุด ที่เผยแพร่โดย สถาบัน IMD World Competitiveness Center พบว่าประเทศไทยมีอันดับที่ดีขึ้น จากอันดับที่ 28 ในปี 2559 เป็นอันดับที่ 27 ในปี 2560
คำถาม คือ อันดับดีขึ้นแล้วยังไง?
การจัดอันดับขีดความสามารถฯ เป็นเสมือนเครื่องมือวัดสมรรถนะ จุดอ่อน จุดแข็ง ว่าประเทศเรามีส่วนที่เป็นความท้าทาย ต้องปรับปรุงตรงไหน เพื่อที่จะทำให้แข่งขันกับนานาชาติได้ดีขึ้น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนจากทั่วโลกให้ความสำคัญและสนใจไม่น้อยไปกว่าตัวเลขจีดีพี