ข้อมูลจากการประชุมประจำปีของ WEF ปี 2563 ระบุว่า การปฏิบัติอุตสาหกรรม 4.0 จะทำให้ตลาดงานเปลี่ยนไป ดังนั้นแต่ละประเทศจะต้องตอบให้ได้ว่า ทักษะด้านใดที่มีความสำคัญเร่งด่วน และจะจัดการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาทักษะต่างๆอย่างไร เพื่อให้กำลังแรงงานของประเทศมีความพร้อมสำหรับงานที่เปลี่ยนไปและงานใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ชีวิตของคนทำงานในยุคปัจจุบันนั้นไม่มีทางรู้เลยว่างานที่ตัวเองเคยทำอยู่จะถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ หุ่นยนต์เมื่อไหร่ อย่างไรก็ตามในอีกมุม การเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็มีการสร้างตำแหน่งงานใหม่เช่นเดียวกัน นั่นก็หมายความว่า หากใครที่สามารถปรับตัวได้ และเสริมทักษะความสามารถ ให้สอดรับกับเทคโนโลยีและงานสมัยใหม่ โอกาสที่จะถูกเขี่ยพ้นจากตลาดงานก็เป็นไปได้ยากด้วยเช่นกัน
จะทำอย่างไรถึงจะเร่งสปีดการพัฒนาเพื่อทำอันดับขึ้นไปให้สูงขึ้น เพราะต้องยอมรับว่า ทุกประเทศหรือเขตเศรษฐกิจ ก็มีเป้าหมายที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องของทรัพยากรบุคคล หรือ แรงงาน ที่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ
"คน" หรือ "แรงงาน" เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ การจะพัฒนาประเทศไปข้างหน้าให้ประสบความสำเร็จ "แรงงาน" ถือเป็นตัวชี้วัดหลักที่จะบอกได้ว่า ประเทศจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
จากผลการจัดอันดับประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถ 2017 ของสวิสเซอร์แลนด์ พบว่า ประเทศไทย ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 42 จากการสำรวจทั้งหมด 63 ประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ตกลงถึง 5 อันดับ เมื่อเทียบกับปี 2016
เมื่อเจาะลึกข้อมูลลงไปจะพบว่า คะแนนของประเทศไทย ตกลงในแทบจะทุกๆด้าน ทั้งนี้การสำรวจดังกล่าว ชี้ให้เห็นจุดอ่อนหลักๆของไทย ก็คือ ปัญหาด้านบุคลากรที่มีประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจาก ระบบศึกษาของไทยที่อยู่ในอันดับเกือบท้ายสุดของการสำรวจ
ดูเหมือนว่า ในเวลานี้ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น "ภาครัฐ" หรือ "ภาคเอกชน" ต่างก็มีการกล่าวถึง "ไทยแลนด์ 4.0" โดยวาดฝันว่า อนาคตของไทยจะก้าวไปยุคประเทศเศรษฐกิจสมัยใหม่ การมองเป้าหมายนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การทำให้ถึงเป้าหมายนั้นยากกว่า เพราะปัจจัยที่ทำให้ประเทศ เข้าสู่ 4.0 ได้ ไม่ได้ทำเพียงแค่ลงทุนด้านเทคโนโลยี แล้วจะประสบความสำเร็จ แต่มันจะต้องมี “ทรัพยากรบุคคล” ที่มีความรู้ ความสามารถในการเป็นแกนขับเคลื่อนด้วย
IMD World Talent Report 2016 (Thailand)
IMD World Talent Report 2016 เป็นรายงานที่สถาบัน International Institute for Management Development (IMD) จัดอันดับความสามารถของประเทศต่างๆ 61 ประเทศในการสร้างบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็น 61 ประเทศเดียวกับในรายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2016